Page 120 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 120
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
๓.๘.๔.๑ การค้นบุคคลในสาธารณะสถาน ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา ๙๓ การค้นตัวบุคคลในที่สาธารณะไม่ต้องมีหมายค้น
โดยผู้ค้นจะต้องเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจ และต้องมีเหตุ
อันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการ
กระทำาผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำาความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด
เมื่อตรวจค้นพบว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า และสิ่งของนั้นไม่จำาเป็นต้องอยู่ที่ตัว
ของผู้ที่ถูกค้น ซึ่งดูจากพฤติการณ์หรือเจตนาในการแสดงความครอบครอง
ก็เพียงพอแล้ว
๓.๘.๔.๒ การค้นตัวบุคคลในที่รโหฐาน (โปรดดู
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๐๐ วรรคสอง) การค้นตามมาตรานี้ สืบเนื่อง
จากการค้นในที่รโหฐาน และมีคนในที่นั้นขัดขวางการค้น โดยมีเหตุ
อันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นได้เอาสิ่งของที่ต้องการพบซุกซ่อนในร่างกาย
เจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นมีอำานาจค้นตัวผู้นั้นได้
๓.๘.๔.๓ การค้นตัวผู้ต้องหา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา
๘๕ เจ้าพนักงานผู้จับหรือผู้รับตัวผู้ถูกจับ มีอำานาจตรวจค้นตัวผู้ต้องหา
และยึดสิ่งของต่างๆ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
๓.๘.๕ การค้นยานพาหนะ
ยานพาหนะนั้น ไม่ถือว่าเป็นที่รโหฐาน ไม่จำาเป็นต้องมีหมายค้น
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจสามารถตรวจค้นเมื่อมีเหตุตาม
ป.วิ.อ. มาตรา ๙๓ หรือเพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น ให้เปรียบเทียบว่ายานพาหนะ
ก็คือ กระเป๋าใบหนึ่งเท่านั้น
96