Page 122 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 122

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน




                           ๓.๙.๒.๒ การนำาผู้ต้องหาเข้าห้องควบคุม ก่อนนำา
          ตัวผู้ต้องหาเข้าห้องควบคุม ต้องตรวจค้นตัว มิให้นำาของต้องห้ามเข้าห้อง

          ควบคุม หากมีเงินทองหรือของต้องห้ามดังกล่าวแล้ว ให้ยึดหรือเก็บรักษา
          ไว้ตามระเบียบกำาหนด (โปรดดู ประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี
          ข้อ ๑๔๔) และเพื่อความปลอดภัยของผู้จับ ควรให้ผู้ที่ไม่ได้จับกุมเป็นผู้นำา
          ตัวผู้ต้องหาไปควบคุม เนื่องจากผู้ต้องหาย่อมมีความโกรธแค้นผู้จับกุม

          ซึ่งอาจทำาอันตรายผู้จับกุมได้

                           ๓.๙.๒.๓ ระยะเวลาในการควบคุม
                                (๑)  การควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาตามวิธีการ

          เพื่อความปลอดภัย เป็นกรณีที่ผู้ถูกจับยังไม่ได้ลงมือกระทำาผิด แต่กฎหมาย
          ให้อำานาจเจ้าพนักงานจับกุมตัวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๘๗(๒) และเมื่อมาถึง
          ที่ทำาการของพนักงานสอบสวน ปรากฏจากการสอบสวนว่าผู้ถูกจับนั้น

          จะก่อเหตุภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ของผู้อื่นแล้ว พนักงานอัยการ
          สามารถยื่นฟ้อง โดยใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยได้ ดังนั้น จึงสามารถ
          ควบคุมผู้ถูกจับได้สี่สิบแปดชั่วโมง นับแต่เวลาที่มาถึงที่ทำาการของพนักงาน
          สอบสวน จะต้องนำาตัวไปฟ้องศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงดังกล่าวด้วย
          โดยพนักงานสอบสวนไม่มีอำานาจขอผัดฟ้องหรือฝากขังต่อศาล

                                (๒)  การควบคุมผู้ต้องหาในคดีลหุโทษ (โปรดดู
          ป.วิ.อ. มาตรา ๘๗ วรรคสอง) เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจ

          ควบคุมได้เท่าที่จะถามคำาให้การ และรู้ตัวว่าเป็นใคร และที่อยู่ ของเขา
          อยู่ที่ไหนเท่านั้น
                                (๓)  การควบคุมผู้ต้องหาในคดีอาญาที่อยู่

          ในอำานาจศาลแขวง (คดีที่อัตราโทษจำาคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน
          หกหมื่นบาท หรือทั้งจำาทั้งปรับ) เป็นไปตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธี
          พิจารณาฯ มาตรา ๗ แยกพิจารณาเป็น ๒ กรณี



                                       98
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127