Page 116 - คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
P. 116
คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำารวจตามหลักสิทธิมนุษยชน
เจ้าบ้านหมายถึง ผู้เป็นหัวหน้าของบุคคล
ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น และรวมตลอดถึงคู่สมรสของผู้เป็นหัวหน้า
เท่านั้น เพราะบุคคลดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการครอบครองบ้าน
และปกครองผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนั้น หาได้รวมถึงผู้อยู่ในบ้าน ทุกคนไม่
(๒) กรณีตัวอย่าง
จำาเลยอยู่ในฐานะบุตร มิได้อยู่ในฐานะเจ้าบ้าน
การที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าไปจับกุมจำาเลยในบ้านดังกล่าวตามหมายจับ
แต่ไม่มีหมายค้น เป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ จำาเลยจึงชอบที่จะป้องกัน
สิทธิของตนได้ หากจำาเลยชกต่อยผู้เสียหายจริง ก็เป็นการกระทำาเพื่อป้องกัน
ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน (โปรดดู แนวคำาพิพากษาศาลฎีกา
ที่ ๑๐๓๕/๒๕๓๖)
สูตรย่อ “มีเสียงร้อง ต้องซึ่งหน้า ว่าซุกซ่อน จรเนิ่นช้า
ถ้าเจ้าบ้าน”
(ดูสูตรย่อ วินัย เลิศประเสริฐ, ๒๕๕๓: ๑๓๑)
(๓) แนวทางในการปฏิบัติ
(๓.๑) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำารวจ
สั่งให้เจ้าของหรือคนที่อยู่ในนั้น หรือผู้รักษาสถานที่นั้นให้ยอมให้เข้าไป
และอำานวยความสะดวกในการค้น โดยพนักงานผู้ค้นต้องแสดงหมายค้น
ถ้าเป็นการค้นได้โดยไม่มีหมายค้น ต้องแสดงนามและตำาแหน่ง
92