Page 10 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 10
V
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปมีแนวทางการบัญญัติกฎหมาย
ที่สอดคล้องกัน
๒. เพื่อให้มีการส่งผ่านข้อมูลส่วนบุคคลภายในประเทศสมาชิก
ขอบเขตการบังคับใช้
๑. การประมวลผลข้อมูลโดยวิธีการปกติ (manual)
๒. การประมวลผลข้อมูลโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอัตโนมัติ
(electronic or automatic)
สาระส าคัญ
๑. การรักษาคุณภาพของข้อมูล
๒. มาตรฐานของการประมวลผลข้อมูลที่ชอบด้วยกฎหมาย
๓. การประมวลผลข้อมูลชนิดพิเศษ
๔. สิทธิในการได้รับแจ้งข้อมูลต่างๆ ของเจ้าของข้อมูล
๕. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าของข้อมูล
๖. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของเจ้าของข้อมูล
๗. การรักษาความปลอดภัยในการประมวลผลข้อมูล
๘. การส่งผ่านข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่สาม
๒. หลักสากลที่รับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของผู้ต้องขัง
นอกจากสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลในฐานะที่เป็นสิทธิมนุษยชนจะได้รับการ
รับรองและคุ้มครองโดยกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น บุคคลที่อยู่ในสถานการณ์
พิเศษ เช่น ผู้ต้องขังก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวโดยกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ
เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human
Rights (UDHR)) ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขัง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง (International Convenant on Civil an Political Rights (ICCPR)) และข้อก่าหนด
มาตรฐานขั้นต่่าของสหประชาชาติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังคดีอาญา (Standard of minimum Rule
for the Treatment of Prisoners)
๒.๑ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights
(UDHR)) ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้ต้องขัง
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้รับรองสิทธิของผู้ต้องโทษไว้ใน ข้อ ๕ ว่า
“บุคคลใดจะถูกทรมานหรือได้รับการประติบัติ หรือลงทัณฑ์ด้วยความทารุณ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือหยามเกียรติมิได้”