Page 8 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 8
III
ของประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันการกระท าความผิดทางอาญา การคุ้มครอง
๕
สุขภาพหรือจิตใจ หรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น”
๑.๓ สิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data)
สิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Personal data) ได้รับการ
รับรองและคุ้มครองเป็นการเฉพาะในระดับระหว่างประเทศ ได้แก่ กฎเกณฑ์เพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลตามแนวทางปฏิบัติขององค์การเพื่อเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และของสหภาพยุโรป ดังนี้
๑.๓.๑ Guidelines on the protection of Privacy and Transborder Data
Flows of Personal Data ขององค์การเพื่อเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
แม้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘ (The Universal
Declaration of Human Rights 1948) ได้วางหลักประกันขั้นพื้นฐานในการรับรองสิทธิในความเป็นอยู่
ส่วนตัวของบุคคลไว้อย่างกว้างๆ แล้วก็ตาม แต่เมื่อเข้าสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสารซึ่งมีพัฒนาการทาง
เทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ
สามารถเคลื่อนย้ายและเชื่อมโยงกันได้โดยไม่จ่ากัดเวลาและสถานที่อีกต่อไปจากความสะดวกรวดเร็ว
ในการติดต่อสื่อสารดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูล
ส่วนบุคคลของบุคคลอื่นได้โดยง่าย จากปัญหาดังกล่าวองค์การเพื่อเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
จึงได้มีแนวคิดที่จะวางกรอบเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากการคุ้มครองสิทธิโดยทั่วไป
ซึ่งหลักเกณฑ์การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ Guidelines on the protection of Privacy and
Transborder Data Flows of Personal Data ขององค์การเพื่อเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งมี
หลักการที่ส่าคัญจ่านวน ๘ ประการ ดังนี้
(๑) หลักข้อจ่ากัดในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้น
ต้องชอบด้วยกฎหมายและต้องใช้วิธีการที่เป็นธรรมและเหมาะสม โดยในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นต้อง
ให้เจ้าของข้อมูลรู้เห็น รับรู้ หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
(๒) หลักคุณภาพของข้อมูล ข้อมูลจะต้องถูกต้อง สมบูรณ์ หรือท่าให้เป็น
ปัจจุบันหรือทันสมัยอยู่เสมอ
๕
Article 8 – Right to respect for private and family life
1. Everyone has the right to respect for his private and family life, his home and his
correspondence.
2. There shall be no interference by a public authority with the exercise of this right except
such as is in accordance with the law and is necessary in a democratic society in the interests of
national security, public safety or the economic well-being of the country, for the prevention of
disorder or crime, for the protection of health or morals, or for the protection of the rights and
freedoms of others.