Page 6 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 6
บทน า
สิทธิในความเป็นส่วนตัวถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประการหนึ่ง ซึ่งมีที่มาจาก
ค่าสอนในศาสนาคริสต์ที่ว่ามนุษย์ทุกคนเสมอเหมือนกันในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์จึงมีความ
เสมอภาค มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และมีสิทธิเสรีภาพเสมอภาคเท่าเทียมกัน การกระท่าใดๆ ที่เป็น
การลิดรอนหรือท่าลายสิ่งเหล่านี้เป็นการกระท่าที่ผิด ค่าสอนดังกล่าวสอดคล้องกับแนวความคิด
เรื่องสิทธิตามธรรมชาติ (Natural right) ที่ว่าเหนืออ่านาจสูงสุดของมนุษย์คือธรรมชาติ และมนุษย์
ถือก่าเนิดขึ้นมาพร้อมกับสิทธิในชีวิต สิทธิในทรัพย์สิน เสรีภาพในร่างกายและความเสมอภาคกัน
สิทธิและเสรีภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ผู้ใช้อ่านาจปกครองไม่มีอ่านาจที่จะลบล้าง
และมิอาจจะก้าวล่วงได้ ดังนั้น บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในความเป็นอยู่ส่วนตัว และสามารถ
กระท่าการใดๆ ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่กระทบสิทธิของบุคคลอื่นและไม่ผิดกฎหมาย
๑. หลักสากลที่รับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลธรรมดา
โดยที่สิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่งนี้เอง การศึกษา
เกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัวนั้น จึงจ่าเป็นที่จะต้องศึกษาสิทธิในความเป็นส่วนตัวที่ได้รับการรับรอง
และคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายต่างๆ อันเป็นหลักสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘ (Universal Declaration of Human Rights of
1948) ประการหนึ่ง และอนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
(European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms)
อีกประการหนึ่ง ซึ่งอาจกล่าวโดยสังเขปในส่วนนี้ได้ ดังนี้
๑.๑ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. ๑๙๔๘ (Universal Declaration of
Human Rights of 1948)
เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๘ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ
๑
สมัยที่ ๓ ได้มีข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีเจตนารมณ์เพื่อรับรองและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนของประชาชนทั่วโลกอย่างแท้จริง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจึงถือว่า
เป็นเอกสารที่มีความส่าคัญอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอันเป็น
มาตรฐานสากลที่ประเทศสมาชิกสหประชาชาติได้ร่วมกันจัดท่าขึ้น นอกจากนี้ ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชนดังกล่าวยังเป็นพื้นฐานของการตรากฎหมายและการท่าข้อตกลงระหว่างประเทศ
๑
การประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชนดังกล่าวได้รับการประกาศในรัฐกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส (le Journal Officiel) เมื่อวันที่
๑๙ กุมภาพันธ์ ๑๙๔๙
I