Page 98 - รายงานสรุปโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3
P. 98
๙๗
“อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์” ชี้ „ความอยุติธรรมที่ชายแดนใต้ลึกมาก‟
Fri, 2011-09-16 20:11
นูรยา เก็บบุญเกิด โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
สรุปความ “รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์” ในการบรรยายพิเศษเรื่อง “พลังชุมชน–พลังผู้ไร้สิทธิกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงจาก
ข้างล่าง” ในงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3 เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้” (Voices of
the Voiceless : from the southernmost People in Thailand)
ระหว่างวันที่ 12 – 14 กันยายน 2554 โครงการจัดตั้งศูนย์อิสลามศึกษาเพื่อการบูรณาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ “ชุมคน ชุมชน คนใต้ ครั้งที่ 3 เสียงจากผู้ไร้สิทธิชายแดนใต้”
(Voices of the Voiceless : from the southernmost People in Thailand)
เวลา 09.30 น. วันที่ 13 กันยายน 2554 ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของการจัดงาน ก็เป็นคิวของ “รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์” อาจารย์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นบรรยายพิเศษเรื่อง “พลังชุมชน–พลังผู้ไร้สิทธิกับการสร้างการ
เปลี่ยนแปลงจากข้างล่าง” ณ หอประชุมอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อ าเภอเมือง จังหวัดสงขลา
ต่อไปนี้ เป็นข้อความเฉพาะบางส่วนที่น่าสนใจ ที่เก็บได้จากการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อนี้
………………………………………………
“ปัจจุบันในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการคืนความยุติธรรมให้กับชุมชนมากขึ้น เอกสารของคนท างานพัฒนาในพื้นที่นี้ ชี้ให้เห็น
ว่าหลังจากรัฐได้ฟังเสียงของคนในชุมชนแล้ว ในช่วงหลังองค์กรของรัฐได้ตระหนักว่า ความอยุติธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ชายแดน
ภาคใต้ลึกซึ้งมาก องค์กรของรัฐจึงพยายามปรับตัวคืนความยุติธรรมให้กับชุมชนในหลายมิติ ไม่ว่าการยอมรับให้มีสภาชุมชน
หรือการสร้างนิติธรรมชุมชน นี่ถือเป็นเสียงที่ยอมรับในความชอบธรรมของชุมชน ที่เกิดจากปฏิบัติการของเสียงผู้ไร้เสียงที่ดัง
มากขึ้น จากการแสวงหาทางออกของสังคมที่มีความหลากหลาย
โครงสร้างฐานที่มั่นของชุมชนคือ การสร้างชุมชนในอุดมคติ และฐานในการปกครองตนเอง ที่มีอยู่ 3 ฐานคือ การปกครอง สังคม
ชุมชน และจิตวิญญาณ กรณีชุมชนตักวา 4 ชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท าให้เกิดเสาหลัก ท าให้เกิดพื้นที่สาธารณะ มัสยิด
ก็ถือเป็นพื้นที่สาธารณะเช่นกัน จากการอ่านเรื่องชุมชนตักวา พบว่า เริ่มจากบ้านมั่นคง จากการพูดคุยกันหลายฝ่าย เริ่มขยับจาก
บ้านไปสู่ชุมชน จากชุมชนไปสู่อุดมคติชุมชน นี่คือความต่อเนื่อง และการตกผลึก
การสร้างตัวตนของผู้ไร้สิทธิ์ท่ามกลางการกดทับ ผ่านปฏิบัติการทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ น าไปสู่การตกผลึกทางอุดมคติ
ของชุมชนและมนุษย์ นี่คือการท้าทายสังคม ด้วยการกระตุกเตือนให้คนคิดถึงสิ่งที่สูงกว่ามนุษย์ ซึ่งไม่ได้สร้างจากตัวเปล่า แต่
เป็นการขยายรากฐานทางปัญญาเดิม
รายงานโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ ชุมคน ชุมชน คนใต ครั้งที่ ๓ เสียงจากผูไรสิทธิชายแดนใต