Page 22 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 22

ภายในที่มีอยู่จะสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหรือไม่ ประการใด ทั้งนี้

               กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ าสุด (minimum standards) ที่
               รัฐภาคีจะต้องด าเนินการให้เกิดผล แต่หากกฎหมายภายในมีมาตรฐานที่สูงกว่ากฎหมายสิทธิ

               มนุษยชนระหว่างประเทศก็จะยิ่งเป็นการดีต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศ
                       โดยสรุป การที่หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายภายในมิได้เป็นการประกันว่าจะ

               เป็นการด าเนินการที่เคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักการสากล จึงเป็นเหตุผลส าคัญว่าสถาบันสิทธิ
               มนุษยชนแห่งชาติจ าเป็นที่จะต้องยึดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเป็นหลักในการปฏิบัติ

               หน้าที่
                       อนึ่ง ในส่วนมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ปฏิญญา แนวปฏิบัติ หลักการต่าง ๆ ที่สหประชาชาติ

               ให้การรับรองนั้น มีสถานะเป็น soft law กล่าวคือ ยังไม่สร้างพันธกรณีทางกฎหมายดังเช่น
               สนธิสัญญาที่ไทยเป็นภาคี ดังนั้น การพิจารณาหรือการน า soft law มาปรับใช้ในกระบวนการ

               ท างานนั้น จึงน ามาใช้ในลักษณะที่เป็นแนวทางที่รัฐควรด าเนินการ (should) มากกว่าที่จะเป็น

               สิ่งที่รัฐต้องด าเนินการ (must) เหมือนพันธกรณีของสนธิสัญญาที่ไทยเป็นภาคี
                       4. ในการน ากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมาปรับใช้นั้น ข้อที่จ าเป็นต้องค านึงคือ

               นอกจากการเป็นมาตรฐานขั้นต่ า (ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้อ 3 แล้ว) กระบวนการร่างกฎหมายเหล่านี้
               เกิดขึ้นจากการต่อรอง (negotiations) ระหว่างผู้แทนของรัฐบาลประเทศสมาชิกสหประชาชาติ

               อย่างเข้มข้น ดังนั้น จึงมิได้เป็นมาตรฐานที่สูงจนรัฐไม่สามารถปฏิบัติได้ และในข้อบทของ
               สนธิสัญญาเองก็ยังได้มีการบัญญัติข้อยกเว้นไว้หลายประการ เพื่อเอื้อให้รัฐสามารถที่จะด าเนินการ

               ได้เหมาะสมแก่สถานการณ์ภายในประเทศ เช่น การที่รัฐสามารถเลี่ยงหรือเพิกถอนการปฏิบัติตาม
               พันธกรณี (derogation of rights) เป็นการชั่วคราวได้ในกรณีที่มีความจ าเป็นอย่างยิ่งยวด ตาม

               ข้อ 4 (1) ของ ICCPR หรือการจ ากัดสิทธิ (limitation of rights) ตามข้อ 18 (3) ของ ICCPR
               ด้วยเหตุต่าง ๆ เช่น การรักษาความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรม

               ของสังคม หรือการก ากัดสิทธิในการใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคล (restriction of rights) ที่ต้องมี

               หน้าที่และความรับผิดชอบควบคู่ไปด้วย ตามข้อ 19 (3) ของ ICCPR เช่น การที่จะไม่ละเมิดสิทธิ
               หรือชื่อเสียงของผู้อื่น หรือพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และท าให้เป็นจริง ที่รัฐสามารถ

               ด าเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ (progressive realization of rights) ได้
               ในเรื่องของสิทธิตาม ICESCR เป็นต้น


                           ดังนั้น การน าข้อบทต่าง ๆ และการตีความเพื่อน ามาปรับใช้ในการท างาน จึงจ าเป็น

               อย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจเจตนารมณ์และหลักการ (Principles) ของสนธิสัญญานั้น ตลอดจน
               ศึกษาหลักเกณฑ์และความเชื่อมโยงกับข้อบทอื่น ๆ (provisions) ประกอบความเห็นและ

               ค าวินิจฉัยต่าง ๆ ของกลไกสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติให้รอบด้าน หรืออย่างน้อยให้มากที่สุด
               เท่าที่จะท าได้ ก่อนน ามาวินิจฉัยหรืออ้างอิง โดยไม่สามารถเพียงยกเฉพาะข้อบทแล้วตีความ

               ตามความเข้าใจแต่เพียงประการเดียวได้

                                                                                                หน้า ๒๒
   17   18   19   20   21   22