Page 21 - คู่มือปฏิบัติงาน-การใช้ประโยชน์จากกลไกล
P. 21
ข้อชวนคิดเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มักจะมีค าถามจากผู้ปฏิบัติงานเสมอว่า ท าไมการท างานของสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติต้องให้ความส าคัญของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและกลไกสิทธิ
มนุษยชนสหประชาชาติ เราไม่สามารถใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในเป็นหลักได้หรือ
เหตุผลโดยย่อที่จะช่วยตอบค าถามดังกล่าวมีดังนี้
1. สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (National Human Rights Institutions – NHRIs)
เกิดขึ้นและได้รับการรับรองภายใต้ระบบสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์หลักที่ส าคัญคือ การ
ตรวจสอบติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายหรือมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในระดับ
ประเทศ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นกลไกที่ควรท าหน้าที่เบื้องต้นแทน
กลไกสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ เพราะกลไกของสหประชาชาติมีข้อจ ากัดทั้งในด้านทรัพยากร
บุคลากร เวลา รวมทั้งความเข้าใจในบริบทของแต่ละประเทศ ดังนั้น เหตุผลในการด ารงอยู่
(raison d'être) ที่ส าคัญของความเป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ความเป็นมืออาชีพ และ
การได้รับการยอมรับจากสากลในการด าเนินงานคือ การท างานโดยยึดหลักกฎหมายสิทธิ
มนุษยชนระหว่างประเทศเป็นส าคัญ
2. กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมิได้หมายถึงการน ากฎหมายระหว่างประเทศหรื
อิทธิพลจากต่างประเทศมาอยู่เหนือกฎหมายภายในประเทศ เพราะกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศเกิดขึ้นจากการรับรองของรัฐสมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น การที่รัฐใดจะ
ยอมรับในการเข้าเป็นภาคีเพื่อรับเอาพันธกรณีมาปฏิบัติให้เกิดผลในประเทศนั้น ก็จะต้องมีขั้นตอน
การให้ความยินยอม (consent) โดยรัฐนั้นเอง นับตั้งแต่การแสดงเจตนาโดยการลงนาม (sign) ไป
จนถึงการภาคยานุวัติ (accession) หรือการให้สัตยาบัน (ratification) ที่สร้างผลผูกพันทาง
กฎหมาย อย่างไรก็ดี รัฐสามารถจ ากัดขอบเขตความผูกพันในบางเรื่องที่จะน าไปปฏิบัติ หรือการตั้ง
ข้อสงวน (reservation) ในบางเรื่องได้ ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อเงื่อนไขของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น
ต้องไม่ขัดกับเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์หลัก (object and purpose) ของสนธิสัญญานั้น ๆ หรือ
ต้องไม่ปฏิเสธการคุ้มครองสิทธิที่เป็น non-derogable rights ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด ได้แก่
สิทธิตามข้อ 4 (2) ของ ICCPR
ดังนั้น การที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนใดจึงเป็นการที่รัฐ (ทั้ง
ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ) ได้ให้ความยินยอมแล้ว และสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือ
กสม. ก็มีหน้าที่เพียงตรวจสอบ ก ากับติดตามและประเมินว่ารัฐได้ด าเนินการตามที่ให้ค ามั่นสัญญาไว้
กับประชาคมระหว่างประเทศหรือไม่ อย่างไร
3. โดยที่ประเทศไทยมีกฎหมายแบบระบบทวินิยม (dualism) กล่าวคือ กฎหมายสิทธิ
มนุษยชนระหว่างประเทศจะไม่สามารถมีผลในทางปฏิบัติทันทีภายในประเทศ โดยเฉพาะใน
กระบวนการพิจารณาของศาล ดังนั้น หากประเทศยังไม่มีกฎหมายอนุวัติกาลในการน าข้อบทหรือ
พันธกรณีต่าง ๆ มาแปลงเป็นกฎหมายบังคับใช้ภายในประเทศแล้ว ก็ยังไม่อาจมั่นใจได้ว่ากฎหมาย
หน้า ๒๑