Page 67 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 67

50   ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ

                               เดียวกันนี้ยังแนะนําใหศึกษาขอมูลเพิ่มเติมที่คําวา “อวัยวะสืบพันธุหญิง”
                                                   3
                               และ “ชองสังวาส” ตอดวย

                                           หี เปนคําหยาบใชอางถึงอวัยวะสืบพันธุหญิงซึ่งรวมถึง

                                     ปากมดลูกและชองคลอด แตโดยทั่วไปแลวมักจะใชกัน
                                     โดยหมายความถึงเฉพาะชองสังวาส หรือชองคลอด หรือ
                                     หมายความรวมทั้งชองสังวาสและชองคลอด แตไมรวมถึง
                                                     4
                                     ปากมดลูกและมดลูก


                                     ในทางกายวิภาค “หี” เปนคําที่ใชเรียกอวัยวะเพศหญิง ซึ่งประกอบไปดวย
                               อวัยวะสืบพันธุภายนอก คือ แคมเล็ก หรืออวัยวะที่มีลักษณะเปนกลีบ 2 ขาง
                               ตรงรูเปดชองคลอด และ แคมใหญ ซึ่งมีขนาดใหญกวาและอยูภายนอก

                               แคมเล็ก, คลิตอริส ที่มีลักษณะเปนปุมอยูขางใน, ปากของทอปสสาวะ และ
                               ปากของชองคลอด สวน ชองคลอด นั้น เปนโครงสรางภายใน ดังนั้นชองสังวาส
                               กับชองคลอดเปนสวนตอกันเหมือนปากกับคอ และมีเนื้อเยื่อสีชมพูคลุม
                               ปากชองคลอดเรียกวา เยื่อพรหมจรรย หรือ เยื่อพรหมจารี

                                     คําอธิบายทางดานกายวิภาควาดวยเรื่องอวัยวะเพศหญิง หรือเรื่องการ
                               ฉีกขาดของเนื้อเยื่อพรหมจรรยเมื่อผูหญิงผานการมีเพศสัมพันธนั้น ไดสถาปนา
                               ชุดความรูความจริงที่เคลือบแฝงดวยมายาคติทางเพศ และสงผานอุดมการณ
                               ทางเพศที่กดขมการแสดงออกทางเพศของผูหญิงบางอยาง เมื่อผนวกเขากับ

                               “จารีตประเพณีของความเปนผูหญิงดี” ซึ่งถูกผลิตซ้ํามาโดยตลอด จึงเปนสิ่งที่
                               คอยตอกย้ําใหผูคนในสังคมเชื่อถือตามกันวาคุณคาอันสูงสงของผูหญิงอยูที่การ
                               รักษาไวซึ่งพรหมจรรยจนกวาจะถึงวันแตงงานเทานั้น ขณะที่ในทางตรงกันขาม
                               กลับเปดโอกาสใหผูชายพิชิตพรหมจรรยของผูหญิงโดยไมผิด ทั้งนี้ขอมูลความรู

                               เรื่องชุดนี้ไดสรางความวิตกกังวลใหกับผูหญิง ทําใหผูหญิงขาดโอกาสในการ
                               แสวงหาขอมูลและเรียนรูเรื่องเพศ ขาดความรู ขาดประสบการณที่เกี่ยวของกับ



                               3   ในเว็บไซตนี้ยังขึ้นปายเตือนดวยวาบทความนี้มีเนื้อหาบางสวนไมเหมาะกับเด็ก เยาวชนควรใช
                                 วิจารณญาณในการอาน ผูปกครองควรใหคําแนะนํา
                               4   วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. <http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B5>


                                                         มลฤดี ลาพิมล
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72