Page 13 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 13
บทนํา vii
บทนํา
เปนที่ยอมรับกันวา ภาษาที่ใชกันอยูทั้งในรูปแบบภาษาเขียนและภาษา
พูดมีสวนสําคัญในการประกอบสรางชุดความคิดความเชื่อเรื่องเพศ และเพศวิถี
ของผูคนในสังคม หนังสือเรื่อง “ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และ
สุขภาวะทางเพศ” เปนโครงการวิจัยยอยภายใตโครงการ “คําสําคัญๆ ใน
ภาษาเพศในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตและประเทศจีน”
(The Southeast Asian and Chinese Sexuality Keywords Project) และมี
ทีมนักวิจัยจากอีก 3 ประเทศเขารวม ไดแก อินโดนีเซีย ฟลิปปนส และเวียดนาม
ซึ่งนําโดย ดร.ไมเคิล แทน จากมหาวิทยาลัยแหงชาติฟลิปปนส มีวัตถุประสงค
ที่จะศึกษาภาษาทองถิ่นที่เกี่ยวกับเรื่องเพศและเพศวิถีซึ่งมีการพูดและใชกัน
ในบาน ในครอบครัว หมูเพื่อนฝูง ตามทองถนน ตามสถานที่สําคัญๆ
ทางศาสนา และพิธีกรรมตางๆ ในสื่อนิยมตางๆ ไดแก ทีวี วิทยุ โทรศัพท
หนังสือพิมพ นิตยสารตางๆ ตลอดจนในวงการงานเขียนวิชาการ การรณรงค
และการจัดบริการสุขภาพ คําวา “คําสําคัญ” (Keywords) เปนคําที่มาจาก
นักมานุษยวิทยาแนวมารกซิส ชื่อ เรมอนด วิลเลี่ยม (Raymond William 1976)
ซึ่งไดใหความหมายไววาคือ คําตางๆ ซึ่งเปนชุดคําที่สําคัญๆ และเชื่อมรอย
ซึ่งกันและกันในการอธิบายปรากฏการณ กิจกรรม และการตีความเพื่อสื่อ
ใหเห็นถึงรูปแบบความคิดเฉพาะแบบหนึ่งๆ ของเรื่องราวหรือปรากฏการณหนึ่งๆ
นอกจากนั้น เวียสบิกา (Wierzbicka 1997) อธิบายความหมายของคําสําคัญ
วามีความสําคัญและดํารงอยูในวัฒนธรรมหนึ่งๆ และเรามักไมคอยตระหนักวา
คําสําคัญๆ เหลานี้ดํารงอยูและมีการใชกันอยูกันอยางประจําและตอเนื่อง
คําสําคัญในภาษาที่เราใชในชีวิตประจําวันเปรียบเสมือนระบบความรูหรือ
ความคิดอานที่แฝงเรนและชี้นํา และกํากับพฤติกรรมของผูคนในสังคม เปนสิ่งที่
ปแยร บูรดิเยอ (Pierre Bourdieu) นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสเรียกวา ความรู
พิมพวัลย บุญมงคล