Page 346 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 346
288 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
อาญา ผู้สูงอายุสามารถแจ้งเหตุแก่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุได้ แต่เจ้าหน้าที่จะช่วยให้
ค าแนะน าหรือส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้นเนื่องจากศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไม่ได้
มีหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุในคดีอาญาโดยตรง อีกทั้งผู้สูงอายุที่จะขอรับบริการมี
ข้อจ ากัดคือต้องช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งเมื่อค านึงถึงสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ความชราท าให้สภาพร่างกาย
เสื่อมถอยลง หากผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ไม่สามารถขอรับบริการที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคม
ผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุเหล่านี้จะไปขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานใด
(3) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีอ านาจหน้าที่ในการรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ
และเสรีภาพและด าเนินการให้ผู้เสียหายในคดีอาญาได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือเยียวยาในเบื้องต้น และ
ประสานหน่วยงานอื่นเพื่อด าเนินการตามอ านาจหน้าที่ต่อไป กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพยังมีการตั้งคลินิก
ยุติธรรมที่อยู่ในก ากับดูแลของศูนย์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นในการให้ค าปรึกษากฎหมาย ซึ่งจะมีการแนะน าช่องทางการรับ
บริการเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งประสานงานเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การช่วยเหลือทางการเงินให้กับ
ผู้เสียหายในคดี การขอรับเงินสนับสนุนหรือค่าใช้จ่ายกองทุนยุติธรรม การคุ้มครองพยานในคดีอาญา เป็นต้น
โดยผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุสามารถแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์หรือขอรับบริการคลินิกยุติธรรมโดยยื่นด้วยตนเองที่
กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมหรือส านักงานคุ้มครองสิทธิและ
เสรีภาพ ภาค 1-4 หรือหากผู้สูงอายุไม่สามารถท าค าร้องทุกข์เป็นหนังสือได้สามารถร้องทุกข์ทางโทรสายด่วน
หรือเบอร์คลินิกยุติธรรมส่วนภูมิภาค นอกจากนี้แล้วผู้สูงอายุยังสามารถยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ทางไปรษณีย์หรือ
ทางอินเตอร์เน็ต หรือทางเครือข่ายยุติธรรมชุมชน
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจะให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในเบื้องต้น และประสานงานเพื่อส่ง
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยวิธีการด าเนินการจะเป็นการรับเรื่องราวร้องทุกข์ หรือให้ค าปรึกษากฎหมาย
ซึ่งผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุจะต้องด าเนินการเพื่อขอให้ความช่วยเหลือด้วยตนเอง เป็นการให้ความช่วยเหลือ
เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป หากผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยติดเตียงหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ก็ยากที่
จะขอรับการช่วยเหลือจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
แม้พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 จะได้มีการบัญญัติคุ้มครอง รับรองสิทธิในการช่วยเหลือ
ผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการทารุณกรรม ถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง
โดยการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุของไทยจะเป็นการท างานร่วมกันของหลายหน่วยงาน ซึ่งใน
การประสานงานกันระหว่างหน่วยงานอาจท าให้เกิดความล่าช้า และปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น ส่งผลให้การคุ้มครอง
ช่วยเหลือผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุในทางปฏิบัติยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากไม่มีหน่วยงานโดยตรงที่
ท าหน้าที่คุ้มครองดูแลผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะที่จะมีบทบาทหน้าที่ในการด าเนินการคุ้มครอง
ช่วยเหลือผู้เสียหายที่เป็นผู้สูงอายุตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นด าเนินคดีจนถึงกระบวนการภายหลังศาลพิพากษาคดี