Page 273 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 273

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 215

               ความเปราะบางหรือไม่เท่าเทียม ในทางเดียวกันผู้สูงอายุก็ถูกมองว่าเป็นกลุ่มชายขอบที่แตกต่างจากคนปกติ

               ทั่วไปจึงเกิดการเลือกปฏิบัติได้ง่าย เช่น สิ่งอ านวยความสะดวกส าหรับผุ้สูงอายุ ค่าโดยสาสาธารณะ
               ประสิทธิภาพในการท างานที่ยังดีอยู่แม้ว่าจะอายุเกิน 60 ปี แต่ไม่ได้รับโอกาสในการจ้างงาน ด้วยบริบทเช่นว่า
               นี้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบจึงเปรียบเสมือนโมเดลในการพัฒนาต่อยอดสู่
               การขจัดการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
                         (3) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International

               Convenant on Civil and Political Rights: ICCPR)
                         เป็นกติกาภายใต้กรอบของสหประชาชาติเช่นกัน โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติ
               เห็นชอบในปี 1966 กติกาฉบับนี้เป็นการให้ค ามั่นสัญญาและจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกี่ยวข้องภายใต้กติกา

               ดังกล่าว ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และรัฐภาคีมีหน้าที่ต้องเคารพและประกันสิทธิ
               ของบุคคลในประเทศของตน รวมถึงการห้ามเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา
               ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ถิ่นก าเนิด หรือสภาพอื่นใด ตลอดจน
               การมีเสรีภาพทั้งเสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการมีชีวิต เสรีภาพจาก
               การถูกทรมาน การห้ามมิให้บุคคลถูกจับกุมตามอ าเภอใจ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก

               เป็นต้น ทั้งนี้ สิทธิและเสรีภาพดังกล่าวทุกคนได้รับมาเหมือนกัน การแสดงออกจึงต้องได้รับการเคารพบน
               พื้นฐานที่ทุกคนต้องเท่าเทียม โดยเฉพาะในผู้สูงอายุซึ่งถูกมองเป็นกลุ่มชายขอบ การแสดงออกหรือเรียกร้อง
               เพื่อใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวจึงแทบเป็นไปไม่ได้ สังคมส่วนรวมจึงต้องช่วยเหลือในการเป็นกระบอกเสียง

               สนับสนุนและดึงคนเหล่านี้เข้ามายังศูนย์กลางและใช้กติกาเดียวกัน กฎหมายเดียวกัน ในการด าเนินชีวิตไม่ใช่
               หลงลืมและปล่อยให้คนเหล่านี้หลุดวงจรของสังคมกลายเป็นกลุ่มที่ถูกทอดทิ้ง
                         (4) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the
               Elimination of All Forms of Racial Discrimination: CERD)
                         เป็นอนุสัญญาภายใต้กรอบของสหประชาชาติเช่นกัน โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติ

               เห็นชอบในปี 1965 ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และรัฐภาคีมีพันธกรณีในการขจัด
               การเลือกปฏิบัติต่อ เชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย ชาติก าเนิด หรือเผ่าพันธุ์ ป้องกันและส่งเสริมการขจัดการเลือก
               ปฏิบัติภายในประเทศด้วยกฎหมาย นโยบาย ตลอดจนมาตรการที่เกี่ยวข้อง เช่น ห้ามการโฆษณาชวนเชื่อที่มี

               เนื้อหาเป็นการเลือกปฏิบัติ การเยียวยาผู้ถูกละเมิด การประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุคคลภายใต้กฎหมาย
               ทั้งในด้านสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งการให้ความส าคัญ
               ด้านมาตรการในการศึกษา วัฒนธรรรม และข้อมูลเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ทั้งนี้ ในประเทศไทยมี
               กลุ่มชาติพันธุ์จ านวนมากกลุ่มเหล่านี้เป็นพลเมืองดั่งเดิมของประเทศ สร้างภูมิล าเนาและอยู่อาศัยมาก่อนการ
               เกิดขึ้นของสังคมเมือง ปัจจุบันคนเหล่านี้ยังคงอาศัยในพื้นที่ห่างไกลและด ารงชีวิตตามวัฒนธรรมดั่งเดิม โดยไม่

               ออกมามีวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง กลุ่มเหล่านี้จึงกลายเป็นกลุ่มชายขอบ ไม่มีชื่อหรือข้อมูลในทะเบียนราษฎร์
               สิทธิและเสรีภาพไม่ใช่เรื่องแปลกของคนที่นี่เพราะไม่เคยได้รับ แต่ปัจจุบันความช่วยเหลือลงไปสู่คนกลุ่มนี้มาก
               ขึ้นจากการบริจาคสิ่งของจ าเป็นในการด ารงชีวิต ดังนั้น แม้ว่าคนเหล่านี้จะไม่ต้องการออกมาสู่สังคมภายนอก
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278