Page 272 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 272
214 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
4.1.2.4 การรองรับหลักการหรือมาตรการสากล
ในเวทีระหว่างประเทศการการคุ้มครองทางสังคมในผู้สูงอายุเป็นวาระในระดับโลกที่ถูกกล่าวถึง
และให้ความส าคัญมาโดยตลอด การคุ้มครองเป็นประเด็นใหญ่ในการให้นิยามแต่โดยหลักการแล้วเป็นการให้
ผู้สูงอายุมีสิทธิและอ านวยความสะดวกให้สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ เมื่อพิจารณาลงไปสิทธิผู้สูงอายุต้องมีการ
สร้างความเข้าใจ หมายถึง ระดับการรับรู้ต้องชัดเจนจึงจะสามารถใช้สิทธิในทุกด้านได้อย่างถูกต้อง เช่น อาหาร
ที่อยู่ อาชีพ สุขภาพ กฎหมาย การศึกษา เป็นต้น ฉะนั้น การคุ้มครองจึงเป็นกุญแจส าคัญที่น าไปสู่การเข้าถึง
สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ภายใต้แนวทางดังกล่าวสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุด้านการ
คุ้มครองทางสังคมมีอยู่มากและมีความสอดคล้องกับหลักการด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศ
ไทยได้เข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาดังกล่าว โดยมีความส าคัญของการจัดท าตลอดจนความเชื่อมโยงระหว่าง
ผู้สูงอายุซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสังคม ต้องสามารถอยู่ร่วมกับคนในช่วงวัยอื่นได้อย่างสง่างามและสมศักดิ์
ศรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (The Madrid International
Plan of Action on Ageing)
องค์การสหประชาชาติ (United nations: UN) จัดให้มีการจัดการประชุมสมัชชาระดับโลกว่า
nd
ด้วยผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 (The 2 World Assembly on Ageing) ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ในปี พ.ศ.
2545 ซึ่งผลการประชุมได้สร้างแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุโดยมีเป้าหมายใน
การพัฒนาผู้สูงอายุ 3 ด้าน คือ 1. ผู้สูงอายุกับการพัฒนา (older persons and development) 2. สูงวัย
อย่างสุขภาพดีและมีสุขภาวะ (advancing health and well-being into old age) และ 3. การสร้างความ
มั่นใจว่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนและเหมาะสม (ensuring enabling and supportive environment)
เป้าหมายการพัฒนาทั้งสามด้านเพื่อให้ประเทศภาคีมีกรอบในการด าเนินงานร่วมกัน ประเทศไทยในฐานะ
สมาชิก UN จึงได้ด าเนินการให้สอดคล้องภายใต้แผนดังกล่าว เช่น แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545-
2564 ปฏิญญาผู้สูงอายุไทย ตลอดจนกฎหมายล าดับรองที่หลายกระทรวงออกโดยสอดคล้องกับการคุ้มครอง
ผู้สูงอายุทั้งประเด็นความปลอดภัย การอ านวยความสะดวก การศึกษา หรือสุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น
(2) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the
Elimination of All Forms of Discrimination Against Women: CEDAW)
อนุสัญญาฉบับนี้เป็นอนุสัญญาภายใต้กรอบของสหประชาชาติ โดยสมัชชาใหญ่แห่ง
สหประชาชาติมีมติเห็นชอบในปี 1997 สืบเนื่องจากการแบ่งแยก กีดกัน จ ากัด โดยตัดสินจากเพศ เป็นการ
ละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ สร้างความเหลื่อมล้ า และเป็นการกดขี่ข่มเหง จ าต้องขจัดการเลือกปฏิบัติเช่นว่านี้
ในทุกรูปแบบ ประเทศไทยซึ่งเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2528 และรัฐภาคีมีหน้าที่รักษาและสร้างความ
เสมอภาคแห่งเพศในประเทศของตน โดยการทบทวนและยกเลิกบทบัญญัติที่เป็นการขัดหรือแย้งต่ออนุสัญญา
ฉบับนี้ และจัดให้มีกฎหมายใหม่ที่ปลดเปลื้องเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนใช้ป้องกันไม่ให้เกิดการเลือก
ปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบทั้งในภาครัฐ เอกชน ตลอดจนภาคประชาชน ทั้งนี้ เพศหญิงในสังคมยังถูกมองว่ามี