Page 110 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 110

52 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

             (health support) และ (8) การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและระยะสุดท้าย (long-term and palliative care)
             ซึ่งข้อท้าทายในประเด็นเหล่านี้จ าเป็นต้องได้รับการวิเคราะห์เชิงลึกถึงช่องว่างในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ


             2.5 มาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ

                    องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้จัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (World
             Assemble on Ageing : WAA) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982) โดยการประชุมระดับโลกครั้งแรกจัดขึ้นที่
             กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และการประชุมครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) จัดขึ้นที่กรุงมาดริด

                                                                               76
             ประเทศสเปน การประชุมทั้งสองครั้งมีผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมด้วย
                    องค์การสหประชาชาติได้มีการติดตามความก้าวหน้าของการด าเนินงานด้านผู้สูงอายุครั้งแรกเมื่อปี
             พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) และครั้งที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โดยมีกลไกในระดับภูมิภาค ได้แก่
             คณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจและสังคมส าหรับเอเชียและแปซิฟิก (United Nations Economic and
             Social Commission for Asia and the Pacific : UNESCAP) ที่มีส านักงานอยู่ในประเทศไทย ท าหน้าที่เป็น

             หน่วยงานในก ากับขององค์การสหประชาชาติ ในการติดตามความก้าวหน้าของการด าเนินงานด้านผู้สูงอายุของ
             ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ที่มีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย) ทั้งนี้มาตรฐานสากลในการคุ้มครอง
             สิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุโดยเฉพาะภายใต้แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศ และข้อตกลงในกรอบของเอเซียน

             มีดังนี้

                    2.5.1 แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ
                         (The Madrid International Plan of Action on Ageing : MIPAA)
                                                                          77

                    ประเทศไทยในฐานะประเทศภาคีสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้เข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาค
             เพื่อน าเสนอรายงานภาพรวมที่เป็นความก้าวหน้าของการด าเนินงานผู้สูงอายุภายใต้แผนปฏิบัติการระหว่าง
             ประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing : MIPAA) ทั้ง

             สองครั้ง และกล่าวได้ว่า การด าเนินงานผู้สูงอายุในประเทศไทยในห้วงเวลาที่ผ่านมามีความสอดคล้องและ
             ตอบสนองต่อกรอบพันธกรณีองค์การสหประชาชาติ : แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยผู้สูงอายุ
             (The Madrid International Plan of Action on Ageing : MIPAA) อย่างครอบคลุม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
             ประเทศไทยได้ให้ความส าคัญและตระหนักในเรื่องของการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม

             รวมทั้งมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนา และยกระดับคุณภาพของการด าเนินงานด้านผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องทั้งการ


                  76 จาก การด าเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยภายใต้กรอบพันธกรณีองค์การสหประชาชาติ : แผนปฏิบัติการ
             ระหว่างประเทศมาดริด ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing : MIPAA), โดย
             ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์, 2557, กรุงเทพฯ: ส านักสงเสริมและพิทักษผู้สูงอายุ ส านักงานสงเสริมสวัสดิภาพและพิทักษเด็ก
             เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
                  77 สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมจาก แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุเพิ่มเติมได้จากเอกสาร
             “การด าเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ พ.ศ.
             2545-2559.”
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115