Page 144 - กฎหมายและระเบียบงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 144
๓
(๓) เรื่องเพื่อทราบ
(๔) เรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน
(๕) เรื่องเพื่อพิจารณา
(๖) เรื่องอื่นๆ
ในกรณีที่ประธานกรรมการเห็นสมควร จะจัดล าดับระเบียบวาระการประชุมให้แตกต่างจาก
ที่ก าหนดในวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการส่งระเบียบวาระการประชุมและเอกสารที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกับหนังสือ
นัดประชุม เว้นแต่กรณีมีเหตุจ าเป็นอาจส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปให้ในภายหลังก็ได้
ในกรณีที่มีระเบียบวาระการประชุมหรือเอกสารเพิ่มเติม ให้เลขาธิการส่งระเบียบวาระการประชุม
หรือเอกสารดังกล่าวให้แก่กรรมการโดยเร็ว
ข้อ ๑๔ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับกับคณะอนุกรรมการหรือคณะท างานที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
โดยอนุโลม
หมวด ๒
การประชุม
ข้อ ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจ านวน
กรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่กรรมการคนใดไม่อาจมาประชุมได้ ให้จดแจ้ง
เหตุนั้นไว้ในรายงานการประชุม
ในกรณีเรื่องใดเป็นเรื่องที่มีความส าคัญสมควรพิจารณาหรือวินิจฉัยชี้ขาดโดยกรรมการทุกคน
ที่มีอยู่ คณะกรรมการอาจก าหนดให้กรรมการทุกคนที่มีอยู่เป็นองค์ประชุมเพื่อพิจารณาหรือวินิจฉัยชี้ขาด
ในเรื่องนั้นได้
การไม่เข้าประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมของกรรมการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๓ วรรคสาม
ข้อ ๑๖ ในการประชุม ผู้ที่เข้าร่วมประชุมได้ นอกจากเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขานุการ และเจ้าหน้าที่
ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องที่เสนอที่ประชุมแล้ว ให้เป็นไปตามที่ประธานในที่ประชุมอนุญาต เว้นแต่
ที่ประชุมมีมติก าหนดเป็นอย่างอื่น
ให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมทุกคนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานในการประชุมทุกครั้ง
ในกรณีมีการพิจารณาเรื่องที่กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสีย ให้กรรมการผู้นั้นออกจากที่ประชุม
เป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาและมีมติเรื่องนั้น
การมีส่วนได้เสียของกรรมการในเรื่องที่มีการพิจารณาตามวรรคสาม ได้แก่
(๑) เป็นคู่กรณีหรือเกี่ยวข้องโดยตรง
(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือ
ลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
138