Page 221 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 221

ส่วนสิทธิแรงงานควรจะต้องมีการศึกษาอิทธิพลของเทคโนโลยี (เช่น AI) ว่าจะกระทบอะไรต่อแรงงาน

               บ้างต่อไปในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมผลกระทบทางสิทธิมนุษยชนจากเทคโนโลยี





               ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 9 ตัวแทนภาครัฐ

                       ประเทศไทยมีกลไก UPR ซึ่งจากการสอบถามหน่วยงานต่าง ๆ พบว่า สิ่งที่พบในวงประชุมแห่งนั้นกับ

               ของ TDRI ยังไม่ตรงกัน จึงอยากเสนอว่า ควรมีการจัดประชุมเพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุม


                       ส่วนของการประกอบธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนในส่วนอุตสาหกรรมมีคู่ค้าเยอะ ทำให้คู่ค้าซึ่งมักเป็น

               ประเทศพัฒนาแล้วเอามาตรฐานจากประเทศตนมาบังคับใช้ด้วย ในส่วนของ [องค์กร] มองตัวเองว่า เป็น

               หน้าตาของประเทศ จึงมักจะปฏิบัติตามหลักการสากลอยู่แล้ว จึงอยากเสนอว่า เวลาเอกชนไทยไปลงทุน
               ต่างประเทศ ไทยควรมี extraterritorial jurisdiction เพื่อให้เอกชนต้องดำเนินการตามหลักกฎหมายไทย

               หรือไม่ ส่วนประเด็นทุนจีน หลักการ WTO มีประเด็น non-discrimination อยู่แล้ว ทุนจีนไม่สามารถยึด

               ตลาดได้ แต่อาจเป็นไปได้ว่า ทุนจีนอาจจะใช้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนของประเทศจีนเข้ามาใช้


                       นอกจากนี้ การละเมิดสิทธิแรงงานและผู้พิทักษ์สิทธิมีเยอะ แต่กลับไม่เป็นประเด็นสำคัญดังที่ควรจะ

               เป็น โดย [องค์กร] ได้รับเรื่องร้องเรียนส่วนนี้เยอะแต่กลับไม่สามารถทำอะไรได้ จึงขอเสนอว่า การเปิดช่องทาง

               รับเรื่องร้องเรียน (เพื่อเก็บสถิติ) เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มีการตระหนักประเด็นการละเมิด




               ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 10 ตัวแทนนักกฎหมายด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน


                       มีกรณีเหล็กจีนที่ทุ่มตลาดมายังไทย โดยการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจะใช้เวลาตรวจสอบ 2 ปี

               หากเหล็กเปลี่ยนพิกัดทางศุลกากร (จีนทำการเปลี่ยนคุณสมบัติเหล็ก) จะต้องตรวจสอบใหม่ ส่งผลให้

               ผู้ประกอบการไทยได้รับผลกระทบทางลบ ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ ควรต้องให้มีการแก้ พ.ร.บ. การทุ่ม

               ตลาดเพื่อคุ้มครองการทำธุรกิจของไทย (เพิ่งมีการพิจารณาผ่าน สนช.) นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ทางจีน
               แก้ปัญหาด้วยการย้ายโรงงานมาตั้งในไทย แต่เป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบเก่า ซึ่งก่อปัญหา

               สิ่งแวดล้อมขึ้น ในแง่นี้ การเข้ามาทำธุรกิจของจีนจึงกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


                       ในส่วนของการเสนอ alien tort act ผู้ให้ความคิดเห็นเห็นด้วยกับผู้วิจัย โดยมีตัวอย่างกรณีบริษัท

               จากสหรัฐเข้าไปลงทุนที่ทำท่อก๊าซในเมียนมา บริษัทดังกล่าวทำการเวนคืนโดยไม่ชอบธรรม แต่รัฐบาลสหรัฐ

               สามารถเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการทางกฎหมายได้ จึงชวนคิดต่อว่ากรณีนี้ ถ้าให้กฎหมายของประเทศ

               นั้น ๆ (เช่น ไทย) สามารถตามไปเอาผิดถึงการกระทำผิดนอกประเทศได้ จะเหมาะสมไหม รุนแรงไปหรือไม่




                                                           161
   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226