Page 220 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 220

(เนื่องจากกลไกการใช้สิทธิของการรวมตัวเรียกร้องมีปัญหา จึงต้องยอมรับการไกล่เกลี่ยที่ไม่เหมาะสม) ดังนั้น

               จึงเสนอว่า ศาลแรงงานควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านแรงงาน


                       สถานการณ์ด้านสหภาพแรงงานไทยมีน้อย บางจังหวัดไม่มีเลย และตัวแทนบางแห่งไม่มีคุณภาพ เช่น
               ส่งผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญมาเป็นตัวแทนสหภาพ


                       ด้านการดำเนินนโยบายของภาครัฐ ควรมีการตั้งตัวแทนแรงงานในส่วนของคณะกรรมการ

               ประกันสังคมด้วย


                       ในส่วนของการเลิกจ้าง แรงงานไม่ได้รับการคุ้มครองกรณีถูกเลิกจ้างแบบจำใจจาก เพราะสัญญาจ้าง

               สะสมไม่พอ เนื่องจากถูกจ้างสัญญารายปี นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีจะทำให้คนตกงานเยอะ

               จึงตั้งคำถามว่า แรงงานในส่วนนี้หากถูกเลิกจ้างแล้ว จะมีการคุ้มครองอย่างไรให้เหมาะสม และยังมีกรณีเหมา

               ค่าแรงที่หลอกว่าจะเปลี่ยนรูปแบบการจ้างให้เป็นแรงงานประจำภายหลัง ซึ่งมักจะนำไปสู่กรณีเลิกจ้างคนท้อง

                       ปัญหาการจ้างงานที่ไม่ถาวรถือเป็นปัญหา เพราะ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ไม่ให้ลูกจ้างชั่วคราวของรัฐ

               ตั้งสหภาพ


                       ในส่วนการลงทุนข้ามแดน โรงงานที่มาลงทุนจากต่างชาติ (แม้จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ตาม)

               สามารถอ้างได้ว่าทำตามหลักกฎหมายไทย แต่ปัญหาคือหลักกฎหมายไทยเองที่มีปัญหาเปิดช่องให้ละเมิด

               นายทุนที่มาลงทุนมักมองว่า กฎหมายไทยไม่แข็งแรง สามารถใช้เงินแก้ปัญหา ได้จึงกล้าที่จะละเมิด โรงงาน
               จากทุนจีนมีรายงานการละเมิดที่สูงมาก สุดท้ายนี้ รัฐไทยไม่สามารถทำอะไรได้มากกว่าการส่งผู้กระทำผิดกลับ

               ประเทศ





               ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 8 ตัวแทนภาควิชาการ


                       เห็นด้วยเรื่องการแก้ให้ EIA ต้องเปิดเผยข้อมูล หากแต่ทำอย่างไรชาวบ้านจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

               จริงและถูกต้อง จึงขอเสนอว่า ชุมชนควรจะสามารถจัดทำ community impact assessment ได้ด้วยตนเอง

                       นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลเรื่องการลงทุนข้ามพรมแดนเป็นข้อมูลที่เข้าถึงได้ยาก เช่น กรณีทวาย

               ข้อมูลที่ [องค์กร] ส่งให้ กสม. ไม่ใช่ข้อมูล EIA แต่เป็นข้อมูลโฆษณา การลงทุนในต่างประเทศเองควรจะต้องมี

               กลไกรับเรื่องร้องเรียนจากนอกประเทศด้วย โดยกลไกการร้องเรียนการลงทุนต่างประเทศกรณีข้ามชาติจะทำ

               อย่างไรให้ผู้รับผลกระทบจากต่างประเทศสามารถร้องเรียนได้โดยตรงไม่ต้องผ่านภาคส่วนไทย กสม. จะช่วย

               อะไรได้อย่างไร

                       ประเด็นผู้พิทักษ์สิทธิ จากกรณีการฟ้องร้องที่เป็นข่าวอยู่ นำมาสู่คำถามว่า ระดับของการฟ้องอยู่

               ตรงไหน เช่น แค่แชร์ข่าวสมควรถูกฟ้องไหม

                                                           160
   215   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225