Page 219 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 219
ด้านสิทธิผู้บริโภค มองว่า ภาคการเกษตรมีการใช้สารเคมีเยอะมาก การกระทำเช่นนี้เป็นการละเมิด
สิทธิผู้บริโภคทางอ้อม
ส่วนสิทธิแรงงาน ขอเสนอว่า ต้องขยายหลักเกณฑ์ตามหลักสากลในส่วนการรวมตัวและตั้งสมาคม
หากแต่ รัฐไทยจะรับรองแต่อนุสัญญาที่มีผลต่อการลงทุนเป็นหลัก อนุสัญญาที่ให้สิทธิแรงงานแต่ไม่มีผลกับ
การลงทุนก็จะไม่ลงนาม ส่วนแรงงานข้ามชาติยังมีปัญหาตั้งสหภาพอยู่ ศาลแรงงานมีการดำเนินการที่ช้า และ
หากมีคำสั่งคุ้มครองก็จะทำอะไรต่อไม่ได้ ในแง่นี้ เพื่อแก้ปัญหาความซับซ้อนทางคดีแรงงาน ศาลควรจะมี
ผู้เชี่ยวชาญประเด็นแรงงานอยู่ในศาล
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 5 ตัวแทนภาคธุรกิจ
[องค์กร] ตระหนักถึงปัญหาแรงงานท้องถิ่น และมีความพยายามที่จะให้สวัสดิการและสิทธิที่เหมาะสม
กับแรงงานท้องถิ่น เช่น ในเมียนมา โดยในการจัดซื้อจัดจ้างกับ sub-contractor จะมีการระบุว่า sub-
contractor จะต้องมีการจ้างแรงงานท้องถิ่น ทั้งนี้เคยได้รับรายงานว่า sub-contractor จากจีนดูแลแรงงาน
ไม่ดีเกิดขึ้น โดย [องค์กร] ก็ได้ดำเนินการแล้ว สุดท้ายนี้ บริษัทที่ทำการลงทุนข้ามชาติจะต้องตระหนักเรื่องนี้ให้
มาก เพราะถือเป็นหน้าตาของประเทศ
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 6 ตัวแทนภาครัฐ
ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์มี ESG เป็นระเบียบกำกับการลงทุนอยู่แล้ว ขณะที่ การลงทุนข้ามชาติถ้าเป็น
บริษัทใหญ่จะไม่มีปัญหา
ส่วนสิทธิผู้ถือหุ้น เห็นด้วยกับผู้วิจัยเรื่องให้มีผู้เชี่ยวชาญมาดูแลผู้ถือหุ้น และตลาดหลักทรัพย์เองก็
สนับสนุนเรื่องลงทุนผ่านกองทุนรวม ในแง่นี้ รัฐควรต้องส่งเสริมการลงทุนกองทุนรวม เช่น อาจมีผลประโยชน์
ทางภาษี
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 7 ตัวแทนภาคประชาสังคม
นอกจาก พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานแล้ว ยังมี พ.ร.บ. แพ่งส่วนสัญญาจ้าง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ที่
ควรพิจารณา ทั้งนี้ ไทยมีปัญหาละเมิดแรงงานที่รายงานออกมาเยอะมาก จนโดนปรับจากขั้น 4 ไปเป็น 5
การดำเนินงานของศาลแรงงานใช้เวลาตัดสินนานมาก เป็น 5ปี 10 ปี ปัญหาคือแรงงานไม่สามารถมี
ทุนทรัพย์มาสู้คดี นอกจากนี้ ศาลยังเน้นการไกล่เกลี่ย เป็นผลให้แรงงานไม่ได้รับการคุ้มครองที่เหมาะสม
159