Page 218 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 218
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 3 ตัวแทนนักกฎหมายด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน
ปัจจุบันทาง ICJ กำลังทำรายงานเรื่อง EEC และ SEZ อยู่ ในแง่นี้ จึงอยากให้งานวิจัยเราเพิ่มประเด็น
SEZ ไปด้วย เพราะหลักการการจัดการพื้นที่จะอิงมาจาก EEC ปัญหาที่มักเกิดขึ้นคือ ค่าชดเชยจากการย้าย
เวนคืนไม่เหมาะสม ซึ่งถ้าตกลงไม่ได้รัฐจะฟ้องชาวบ้าน
ประเด็นการลงทุนข้ามพรมแดนพบว่า ความรับผิดของบริษัทที่ลงทะเบียนข้ามชาติ มีการจดทะเบียน
นิติบุคคลแยกขาดจากกันส่งผลให้หาจุดเชื่อมโยงกันไม่ได้ เพราะบริษัทแม่-ลูกแยกขาดกัน ในแง่นี้ อาจจะไม่ใช่
ช่องโหว่ของกฎหมายแต่เป็นกฎหมายเอื้อประโยชน์นายทุน ดังนั้น จึงเสนอว่า สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือ การ
ผลักดันการพิสูจน์ จากเดิมที่ภาระการพิสูจน์เป็นของผู้เสียหาย โดยให้ตรวจสอบว่าสิ่งที่บริษัททำเข้าเกณฑ์
หรือไม่ โดยให้เปลี่ยนมาเป็นการเสนอให้ฝ่ายบริษัทต้องเป็นผู้แก้ต่าง ว่าตนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการละเมิดแทน
ทั้งนี้ เพราะว่าส่วนหนึ่งผู้เสียหายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลหลายส่วนที่จะนำไปพิสูจน์ได้อยู่แล้ว
นอกจากนี้ สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ต้องแยกระหว่างธนาคารในประเทศกับนอกประเทศ โดย
ธนาคารจะต้องมีการกำกับการลงทุน (หลัก corporate investment) ทั้งนี้ ธนาคารในไทยมีความพยายามทำ
fair finance report ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 4 ตัวแทนภาคประชาสังคม
กระบวนการมีส่วนร่วมของชาวบ้านยังจำกัดอยู่ เวลาเสนออะไรไปแล้วมักจะไม่มีการดำเนินการต่อ
เช่น ประชาชนเสนอแก้กฎหมายแล้ว แต่ไม่มีกลไกปรับแก้หรือดำเนินการจากส่วนรัฐ ดังนั้น จำเป็นจะต้องมี
การส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งและใช้ได้จริง ซึ่งในส่วนของการละเมิดโดยรัฐวิสาหกิจ [องค์กร] เคย
เสนอว่า หากรถไฟไม่ปลอดภัยก็ไม่ควรนำไปให้บริการ เมื่อนำเสนอไปแล้วกลับไม่มีการดำเนินการอะไรเกิดขึ้น
ทั้งยังส่งผลให้ผู้นำ [องค์กร] ซึ่งทำการเสนอเรื่องถูกละเมิดสิทธิเอง
ในส่วนของโครงการพัฒนา รัฐมักจะไม่เปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง เช่น กรณี EEC ที่ยังไม่ทราบ
รายละเอียดที่ชัดเจนของการพัฒนา หรือกรณีรถไฟรางคู่ที่ สนข. ออกแบบอย่างหนึ่ง บริษัทรับสัมปทานออก
แบบอย่างหนึ่ง ส่งผลให้ชาวบ้านไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง หรือกล่าวได้ว่า ทุนมีอำนาจเหนือรัฐ
ในความเห็นของผู้ให้ความคิดเห็น มองว่า การที่รัฐไปอุดหนุนภาษีของการลงทุนข้ามชาติทำให้
งบประมาณรัฐลดลง และให้บริการประชาชนได้ลดลง ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนทางอ้อม เพราะรัฐไม่
สามารถให้สวัสดิการประชาชนที่เหมาะสมได้ เพราะมีรายได้ลดลง
กลไกการฟ้องร้องยังเป็นปัญหา ทาง [องค์กร] ได้ฟ้องศาลกรณีรัฐวิสาหกิจมีการละเมิด หากแต่ศาล
มองว่า [องค์กร] ไม่ใช่ผู้เสียหาย ต้องเป็นผู้เสียหายถึงฟ้องได้ กล่าวคือฟ้องแทนกันไม่ได้
158