Page 103 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 103

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


               ภายใต้โครงการ การก าหนดประเภท ชนิด จ านวน หรือปริมาณของทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดใหม่

               ทดแทนได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม มาตรการ ตรวจสอบและควบคุมผลกระทบ และการฟื้นฟูสภาพพื้นที่
               หรือทรัพยากรธรรมชาติ และการประเมินผลการด าเนินโครงการ


                       (5)  พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

                       เป็นกฎหมายที่แก้ไขปรับปรุงจากพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นอกจากการ

               ปรับบทก าหนดโทษให้สูงขึ้น เพิ่มหมวดเงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทน เพิ่มมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์
               และการก าหนดประเภทของสัตว์ป่าแล้ว ยังได้มีการเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิและการมีส่วนร่วมในการ

               จัดการทรัพยากร 4 ประการ ดังต่อไปนี้

                       1)  มีการก าหนดให้รับฟังความคิดเห็นและมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และ

               ประชาชน ในการก าหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา 48 วรรค 3 ความว่า “ในการก าหนดให้พื้นที่
               บริเวณใดเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ให้มีการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่

               เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อน ามาประกอบการพิจารณาด าเนินการ  ทั้งนี้ ตามประกาศที่รัฐมนตรีก าหนดโดย
               ความเห็นชอบของคณะกรรมการ”


                       2)  ให้มีการจัดท าแผนการอนุรักษ์และคุ้มครองพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแต่ละแห่ง ตามมาตรา 52
               โดยต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ป่าและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา

               45 (3) และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชประกาศก าหนด

               ซึ่งประกอบด้วย การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน
               ในการจัดท าแผน แนวทางการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่า การดูแลและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยหรือแหล่งหากิน

               ของสัตว์ป่า การคุ้มครองและดูแลรักษาสภาพธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และ

               ความหลากหลายทางชีวภาพในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น

                       3)  อนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรแบบมีเงื่อนไข หรือการเก็บหาหรือใช้ประโยชน์จาก

               ทรัพยากรธรรมชาตินั้นภายในบริเวณพื้นที่ที่ก าหนดโดยไม่สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ สภาพธรรมชาติ
               และสัตว์ป่า โดยหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณา

               ศึกษาจัดท าโครงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติตามหลักวิชาการ วัฒนธรรม และวิถีชุมชน

                          ทั้งนี้ การด าเนินโครงการต้องค านึงถึงชนิด ประเภท จ านวนหรือปริมาณของทรัพยากรธรรมชาติ

               ที่อนุญาตให้เก็บหาหรือใช้ประโยชน์ ห้วงเวลาด าเนินการ มาตรการตรวจสอบและควบคุมผลกระทบ และการ
               ฟื้นฟูสภาพพื้นที่หรือทรัพยากรธรรมชาติ

                       4)  การแก้ไขปัญหาชุมชนที่อาศัยอยู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามมาตรา 121 โดยให้กรมอุทยาน

               แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชส ารวจการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัยหรือท ากินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์

               ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแต่ละแห่งให้แล้วเสร็จ ภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ





               2-84                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108