Page 101 - รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (ฉบับสมบูรณ์)
P. 101

รายงานผลการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมและ
               คุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


                       นอกจากนี้ ยังมีการก าหนดให้สถาบันหรือองค์กรอื่นเป็นผู้รับรองไม้ก็ได้ ตามมาตรา 18/3 “การออก

               หนังสือรับรองตามมาตรา 18/1 หรือมาตรา 18/2 กรมป่าไม้จะก าหนดให้สถาบันหรือองค์กรอื่นด าเนินการ
               แทนก็ได้  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในระเบียบที่อธิบดีกรมป่าไม้ก าหนด ...” แต่เนื่องจากยังไม่

               มีกฎหมายระดับอนุบัญญัติก าหนดหลักเกณฑ์การเป็นผู้รับรอง จึงยังคงต้องให้กรมป่าไม้เป็นผู้รับรอง

                       3)  เพื่อเป็นการอ านวยความสะดวก การเคลื่อนย้ายไม้จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม ในกรณีที่

               น าไปใช้สอยส่วนตัวภายในเขตจังหวัดที่มีการตัดหรือท าไม้ ตามมาตรา 25 “ผู้ใดน าไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามเข้าเขต

               ด่านป่าไม้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่รัฐมนตรีก าหนด เว้นแต่เป็นการน าไปเพื่อใช้สอยส่วนตัวภายในเขต
               ท้องที่จังหวัดที่ท าไม้นั้น หรือเป็นการน าไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ท าประโยชน์ตามประเภทหนังสือ

               แสดงสิทธิที่รัฐมนตรีประกาศก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง เข้าเขตด่าน
               ป่าไม้ไปใช้สอยส่วนตัวไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม”


                       (4)  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562

                       เป็นกฎหมายที่แก้ไขปรับปรุงจากพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504
               นอกจากการปรับบทก าหนดโทษให้สูงขึ้น และเพิ่มหมวดเงินค่าบริการหรือเงินค่าตอบแทนแล้ว ยังได้มีการ

               เพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร 4 ประการ ดังต่อไปนี้

                       1)  ก าหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน กรณีจะ

               ก าหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือการขยายหรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติทั้งหมดหรือ

               บางส่วน ดังปรากฏในมาตรา 8 วรรค 3 ว่า “ในการก าหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นอุทยานแห่งชาติ การขยาย
               อุทยานแห่งชาติ หรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้มีการรับฟังความคิดเห็นและ

               การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน เพื่อน ามาประกอบการพิจารณาด าเนินการ

               ทั้งนี้ ตามประกาศที่รัฐมนตรีก าหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ”

                       2)  เพิ่มเติมเรื่องแผนบริหารจัดการพื้นที่ ในมาตรา 18 โดยการก าหนดเขตการจัดการภายในพื้นที่

               อุทยานแห่งชาติดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อลักษณะพื้นที่ที่ต้องการอนุรักษ์ สภาพธรรมชาติหรือเป็นพื้นที่
               เปราะบางของระบบนิเวศ และต้องรักษาไว้ซึ่งสภาพความเป็นอุทยานแห่งชาติ แผนการบริหารจัดการพื้นที่

               อุทยานแห่งชาติ ต้องประกอบด้วย (1) วิธีการด าเนินการ (2) แนวทางการจัดการ (3) การก ากับดูแลการใช้
               พื้นที่ (4) การรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน

               เป็นเบื้องต้น โดยรายละเอียดจะต้องรอกฎหมายในล าดับรองต่อไป

                       3)  การแก้ไขปัญหาชุมชนที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ

               สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส ารวจการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่อาศัยหรือท ากินในอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง
               ให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ โดย

               ความเห็นชอบของคณะกรรมการจัดท าโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภายใน






               2-82                                                             สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106