Page 12 - คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา : ระดับปฐมวัย
P. 12

คู่มือการจัดการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา • ระดับปฐมวัย



                     2.2. บทบาทของครูผู้สอน
                         2.1.1 ครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนอำานวยความสะดวกให้เด็กได้คิดริเริ่ม วางแผน ลงมือปฏิบัติ

              กิจกรรม ตัดสินใจ และนำาเสนอความคิด
                         2.1.2 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อ
              ต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสุข และเรียนรู้การทำากิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ กัน
                         2.1.3 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำาวันให้เป็น

              ส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
                     2.3  ลักษณะของกิจกรรม
                         2.3.1 การจัดการเรียนรู้สำาหรับเด็กปฐมวัย เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะบูรณาการผ่าน
              การเล่น การลงมือปฏิบัติจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลาย ทำาให้เกิดความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม

              และส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านโดยไม่จัดเป็นรายวิชา
                         2.3.2  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมือปฏิบัติผ่าน
              ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้เคลื่อนไหว สำารวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
                         2.3.3  ขั้นตอนการดำาเนินกิจกรรม เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning และ Executive

              Function โดยบูรณาการกระบวนการคิดของสมองด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำา ตามรูปแบบ
              กิจกรรม สำารวจ สืบค้นข้อมูล ลงมือปฏิบัติและคิดวางแผน
                         2.3.4  เนื้อหา แสดงการจัดกิจกรรมสอดคล้องเชื่อมโยงกันตามหลักการสอนระดับปฐมวัย
              ครอบคลุมทั้ง 6 กิจกรรม และสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนสำาหรับเด็กปฐมวัย

                         2.3.5  สื่อการเรียนรู้มีเนื้อเพลงสำาหรับเด็ก นิทาน และภาพประกอบสถานการณ์เสมือน
              จริงให้เด็กได้เรียนรู้ ครูนำาไปใช้ในการจัดกิจกรรมได้จริงในชั้นเรียน สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนสามารถ
              นำาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
                         2.3.6  การประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ

              สังคมและสติปัญญาของเด็กอายุ 3 – 6 ปี โดยการรวบรวมผลงานสำาหรับเด็กเป็นรายบุคคลโดยสามารถ
              บอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้า การประเมินพัฒนาการ
              ที่เหมาะสมสำาหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนา การสัมภาษณ์



                                                                                             11
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17