Page 58 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 58
รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
72
ไม่มีการชี้แจงข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน รวมทั้งเงินชดเชยที่รัฐสัญญาว่าจะให้ก็ด�าเนิน
73
การล่าช้า
ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในฝั่งประเทศไทยจากกรณีสายส่งคือ
กระบวนการชี้แจงข้อมูลตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2551 ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่
ไม่เคยรับรู้ข้อมูลโครงการสายส่งไฟฟ้าใดๆ มาก่อน อีกทั้งประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
โดยตรงยังไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเวที ดังนั้นจึงมีเพียงเจ้าหน้าที่และผู้น�าท้องถิ่น
เท่านั้นที่ได้เข้าร่วม จึงขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ยิ่งไปกว่านั้น
ในต้นปี พ.ศ.2552 กฟผ. ยังไม่แจ้งให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับการท�า EIA
ไม่ส�ารวจศึกษาให้รอบด้านครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง และเมื่อแล้วเสร็จ กฟผ.
74
ไม่เปิดเผยรายงาน EIA ให้ประชาชนรับทราบ ทั้งยังบุกรุกเข้ามาในพื้นที่บ้าน
เรือนประชาชนเพื่อปักหมุดก�าหนดเขตระบบโครงสร้างสายส่งไฟฟ้าโดยไม่แจ้งให้
75
เจ้าของที่ดินทราบแต่อย่างใด
สายส่งไฟฟ้าและตัวเสามีการผ่านเข้าไปในพื้นที่สาธารณประโยชน์ 2 แปลง
คือ ห้วยต้นผึ้ง และ ค่าโขง ซึ่งเป็นป่าชุมชนและชาวบ้านใช้ในการท�าเกษตรร่วมกัน
โดยมีการขึ้นทะเบียนหนังสือส�าคัญส�าหรับที่หลวง (น.ส.ล.) ไว้อย่างถูกต้อง แต่ กฟผ.
ไม่ได้ท�าการขออนุญาตตามกฎหมายที่ดินแต่อย่างใด แต่กลับเข้าไปโค่นต้นไม้ใหญ่
ปรับไถที่ดิน สร้างความเสียหายแก่พื้นที่ของประชาชนตามแนวที่สายส่งไฟฟ้าแรงสูง
พาดผ่าน ประชาชนในที่ดินบริเวณนั้นจึงถูกรอนสิทธิจากโครงการท�าให้ต้องรื้อถอน
บ้านเรือน ไม่สามารถใช้ที่ดินท�ากินได้ตามปกติและไม่สามารถปลูกอาคารบ้านเรือน
และต้นไม้ใหญ่ได้ตลอดไป ยกเว้นพืชล้มลุกที่ได้รับอนุญาต 76
72 http://www.rfa.org/english/news/laos/hongsa-05072013175450.html
73 http://www.earthrightsalumni.org/content/hongsa-lignite-mine
74 http://www.tcijthai.com/news/2013/04/archived/2371
75 http://www.manager.co.th/local/viewnews.aspx?NewsID=9580000110499
76 รายงานที่ 1100/2558 เรื่อง สิทธิชุมชน กรณีโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ในพื้นที่จังหวัดน่าน
เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเหมืองและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
54