Page 57 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 57
กรณีศึกษาโครงการลงทุนโดยตรงของไทยในลาว
การตรวจสอบโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กสม. มีมติยุติการตรวจสอบเนื่องจากผู้ร้องได้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังศาลปกครอง
และศาลได้รับเรื่องไว้พิจารณาอย่างไรก็ตามกสม. ได้มีมติให้ส่งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ
รัฐบาลในการประชุม ครั้งที่ 33/2558 วันที่ 26 ตุลาคม 2558 (รายงานผลการตรวจสอบ
ที่1100/2558)
71
ต่อมาคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 รายงานผลการพิจารณา
ค�าร้องเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเรื่องสิทธิชุมชนกรณี
โครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงในพื้นที่จังหวัดน่านเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการ
เหมืองและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(สปป. ลาว)
โดยสรุปดังนี้
รับทราบรายงานผลการพิจารณาค�าร้องโดยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ
พิจารณาทบทวนแผนการพัฒนาพลังงานของชาติการด�าเนินการตามแผนการพัฒนา
พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกร้อยละ25ใน10ปี (พ.ศ. 2555-2564) และแผน
อนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554-2573) ที่ต้องค�านึงถึงประโยชน์สาธารณะสิทธิการ
มีส่วนร่วมของประชาชนและผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่โครงการรวมทั้งการจัดตั้ง
กลไกหรือก�าหนดภารกิจการก�ากับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุน
สัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน
มอบหมายให้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักรับไปพิจารณาร่วมกับ
กระทรวงการต่างประเทศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวง
พาณิชย์เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว
ประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในฝั่งประเทศลาว คือ การด�าเนินโครงการ
ในช่วงต้นของการเตรียมโครงการ คือการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับ
ผลกระทบในอ�าเภอหงสา แขวงไซยะบุรี สปป. ลาว
71 มติคณะรัฐมนตรี. http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99317530
53