Page 14 - รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ : ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
P. 14
รายงานการติดตามการลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ
ผลกระทบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การลงทุนข้ามพรมแดนของไทย หรือการลงทุนโดยตรงไทยในต่าง
1
ประเทศ เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 (ประมาณปี พ.ศ. 2528-2532) กลุ่ม
2
บริษัทที่เริ่มไปลงทุนในต่างประเทศรุ่นแรก ๆ เช่น Bangkok Bank (1950s),
CharoenPokphand (1970s), S&P(1990), Saha Union (1972s), Siam Cement
Conglomerate group (1990), Thai Union Food (1990s) และมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ภายใต้นโยบาย “เปลี่ยนสนามรบ เป็นสนามการค้า” ของรัฐบาลพลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณ ในปี 2534 ทั้งบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และบริษัทจดทะเบียนทั่วไปซึ่งอยู่ภายใต้กระแสการพัฒนาเศรษฐกิจหลักระดับ
3
โลกที่รู้จักกันในชื่อ “ฉันทามติแห่งวอชิงตัน” (Washington Consensus) โดย
ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ มีบทบาทส�าคัญในการแปลงฉันทามติ
แห่งวอชิงตัน เป็นแนวการพัฒนาเศรษฐกิจ 4 เรื่องที่ส�าคัญคือ Stabilization (การ
สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ), Liberalization (การเปิดเสรีด้านการค้า การลงทุน
และการเงินระหว่างประเทศ), Deregulation (การลดการก�ากับและลดการควบคุม
จากรัฐ) และ Privatization (การถ่ายโอนการผลิตจากภาครัฐบาลไปสู่ภาคเอกชน)
โดยทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและในกลุ่มประเทศ CLMV ก็ถูกขับเคลื่อน
ภายใต้กรอบฉันทามติแห่งวอชิงตันนี้จนถึงปัจจุบัน
1 “การลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ” (Thai Direct Investment: TDI) ธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้ให้ความหมายว่า ธุรกรรมการลงทุนที่ผู้ลงทุนซึ่งมีถิ่นฐานในประเทศไทยมีต่อธุรกิจที่มีถิ่นฐานในต่าง
ประเทศที่เป็นกิจการในเครือ โดยที่ผู้ลงทุนถือหุ้นของกิจการในเครือหรือกิจการที่น�าเงินไปลงทุนตั้งแต่
ร้อยละ 10 ขึ้นไป
2 Outward foreign direct investment by enterprises from Thailand, Transnational Corporations,
Vol. 16, No. 1 (April 2007) P. 91, by Kee Hwee Wee หน้า 101, 102
3 ฉันทมติแห่งวอชิงตัน” หรือ “Washington Consensus” มีจุดเริ่มต้นจากการประมวลข้อเสนอเพื่อการ
ปฏิรูประบบเศรษฐกิจในละตินอเมริกาในปี 2532 โดย จอห์น วิลเลียมสัน (John Williamson ขณะนั้นท�างาน
ที่ Institute for International Economics นครวอชิงตัน ดีซี) ต้องการประมวลชุดของนโยบาย (Policy Menu)
ซึ่งบรรดาสถาบันผลิตความคิด (Think Tanks) ในนครวอชิงตัน ดี.ซี. มีความเห็นร่วมกันว่าเป็นนโยบายที่
เหมาะสมส�าหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจ ทั้งนี้ วิลเลียมสัน คัดสรรเฉพาะนโยบายที่มีผู้เห็นร่วมกันเป็นส่วนใหญ่
เพื่อการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในละตินอเมริกาเท่านั้น. (อ้างอิงใน ฉันทมติวอชิงตัน, ศาสตราจารย์รังสรรค์
ธนะพรพันธุ์, พฤษภาคม 2548)
10