Page 29 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 29

๒. การติดตามผลด�าเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาจากรายงานผลการตรวจสอบ

           การละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  (กสม.)  ที่มีมติไปยัง
           หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อด�าเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหา



              ได้แก่ มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมาย
           ซึ่งได้ติดตามประเมินผลการด�าเนินการโดยประสานการแก้ไขปัญหากรณีร้องเรียน พบว่า ยังมีการด�าเนินการตามรายงาน
           ผลการตรวจสอบบางส่วนของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้ด�าเนินการพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง
           มีความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ แต่ยังไม่สามารถยุติเรื่องหรือการด�าเนินการได้ เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรคในการด�าเนิน

           การตาม มติ ของ กสม. โดยสรุปได้ดังนี้


                   ๒.๑  มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ กสม. ที่ก�าหนดไว้ในรายงานการตรวจสอบ
           การละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเพียงข้อเสนอแนะหรือค�าแนะน�า ไม่มีสภาพบังคับตามกฎหมาย ท�าให้ส่วน
           ราชการที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความส�าคัญหรือไม่พยายามที่จะด�าเนินการเพื่อให้มาตรการดังกล่าวบรรลุผลอย่างมี

           ประสิทธิภาพ ประกอบกับส่วนราชการส่วนมากมักยึดติดกับการปฏิบัติตามกรอบกฎหมายที่มีอยู่ มากกว่าการ
           ปกป้องคุ้มครองหรือแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                   ข้อเสนอแนะในการด�าเนินการ สมควรให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการด�าเนินการตามมาตรการการแก้ไข

           ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ กสม. โดยเคร่งครัดตามก�าหนดระยะเวลา หากไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว หรือ
           มีข้อจ�ากัดในข้อกฎหมายให้รายงานพร้อมเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ


                   ๒.๒  มาตรการการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ กสม. ที่ก�าหนดไว้ในรายงานการตรวจ
           สอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตาม มติ ของ กสม. ได้ เนื่องจาก

                   - ขัดต่อข้อกฎหมายและระเบียบของส่วนราชการ
                   - ขาดความชัดเจนในแนวทางด�าเนินงานที่จะน�าไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นรูปธรรม
                   - ข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินใช้ระยะเวลานาน เพราะต้องพิสูจน์สิทธิในที่ดินพิพาทให้เป็นที่ยุติ

                   - มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ท�าให้ขาดการบูรณาการในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
                   - ส่วนราชการที่ได้รับแจ้งให้ด�าเนินการตามมติ กสม. ไม่มีอ�านาจหน้าที่โดยตรง
                   ข้อเสนอแนะในการด�าเนินการ สมควรให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการด�าเนินการตามมาตรการการแก้ไข
           ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ กสม. โดยเคร่งครัดตามก�าหนดระยะเวลา หากไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว หรือ

           มีข้อจ�ากัดในข้อกฎหมายให้รายงานพร้อมเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ


                   ๒.๓  การติดตามผลด�าเนินการตามข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมาย ในการแก้ไขปัญหาการละเมิด
           สิทธิมนุษยชนของ กสม. ที่มีไปยังคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีสั่งการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณา

           ด�าเนินการแล้วรายงานกลับมานั้น คณะรัฐมนตรีจะมีมติเพียง “รับทราบ” รายงานของส่วนราชการเท่านั้น ซึ่ง
           อาจไม่มีหลักประกันอย่างแน่นอนว่าส่วนราชการจะด�าเนินการให้เป็นไปตามรายงานดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด
           ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อ�านาจ กสม. ติดตามทวงถามการด�าเนินตามข้อเสนอแนะนโยบาย
           และข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ที่ กสม. มีไปยังคณะรัฐมนตรี

                   ข้อเสนอแนะในการด�าเนินการ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า
           ด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอ�านาจติดตามทวงถาม
           การด�าเนินการตามข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
           แห่งชาติมีไปยังคณะรัฐมนตรี

            28  |  รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34