Page 28 - รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
P. 28

บทสรุปผู้บริหาร



            สรุปปัญหำ อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะในกำรด�ำเนินกำร



                รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ของคณะกรรมการ
            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นไปตามหน้าที่และอ�านาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการ

            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔๕ (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐) ของคณะกรรมการ
            สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งให้คณะกรรมการ จัดท�ารายงานประจ�าปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา โดยอย่างน้อยให้
            คณะกรรมการสรุปปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการด�าเนินการและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป โดยจาก
            การด�าเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถสรุปสภาพปัญหา อุปสรรค ตลอดจนมี

            ข้อเสนอแนะ/แนวทางเพื่อแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้


            ๑. การลดอันดับสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์
            ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศและรัฐบาล ตลอดจนภาพลักษณ์ของ กสม. ซึ่งอาจท�าให้สูญเสีย
            ความน่าเชื่อถือและการยอมรับในสายตาประชาคมสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ



                     ๑.๑  กระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง กสม. ไม่มีบทบัญญัติที่ระบุถึงการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวาง
            (broad consultation) หรือการมีส่วนร่วม (participation) ของภาคประชาสังคมในกระบวนการรับสมัคร

            (application) การคัดกรอง (screening) และกระบวนการสรรหา (selection) รวมถึงการเผยแพร่โฆษณา
            ต�าแหน่งที่ว่างและการมีเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติผู้สมัครที่ชัดเจนและมีรายละเอียดเพียงพอ
                     แนวทางการแก้ไข กสม. ได้จัดท�าข้อเสนอเกี่ยวกับกระบวนการสรรหา กสม. เสนอต่อคณะกรรมการ
            ร่างรัฐธรรมนูญในการจัดท�าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ....

            เพื่อให้การสรรหา กสม. มีกระบวนการที่โปร่งใส เน้นการปรึกษาหารือ และ/หรือการมีส่วนร่วม ให้ความส�าคัญกับคุณสมบัติ
            ของผู้สมัครในการสรรหา (merit-based selection) รวมทั้งให้มีการเผยแพร่ข่าวการรับสมัครอย่างกว้างขวางเพื่อให้ได้
            ผู้สมัครที่มาจากภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมและมีคุณวุฒิด้านการศึกษาที่หลากหลาย เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระ
            และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคม



                     ๑.๒  การไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องความคุ้มกันและความเป็นอิสระ ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อ
            คุ้มกันประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง
            หรือทางอาญา เนื่องจากการที่ตนได้ปฏิบัติตามหน้าที่และอ�านาจโดยสุจริต

                     แนวทางการแก้ไข กสม. ได้เสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่า ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า
            ด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. .... ควรมีบทบัญญัติคุ้มครองการท�างานของ กสม. เพื่อป้องกันมิให้การปฏิบัติ
            หน้าที่โดยสุจริตของประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจาก
            ภายนอก หรือถูกข่มขู่ที่จะมีการด�าเนินคดีทางกฎหมาย ซึ่งจะท�าให้ กสม. สามารถให้ข้อคิดเห็นในประเด็นสิทธิมนุษยชน

            ได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่ถูกแทรกแซง
















                                                                               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 27
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33