Page 314 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 314

ผลการประเมินในภาพรวม ให้ข้อสรุปที่น่าสนใจดังนี้

                       1.   หากพิจารณาในมิติของความส าคัญของกลยุทธ์ จะพบว่า กลยุทธ์ที่ได้คะแนนสูงสุด 5 อันดับแรก
               ได้แก่ การให้ข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสิทธิ

               มนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ (กลยุทธ์ที่ 6) การสนับสนุนกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (กลยุทธ์ที่ 16)
               การผลักดันแผนกลยุทธ์ขององค์กรให้น าไปใช้เพื่อสนับสนุนการด าเนินงานของ กสม. รวมทั้งการปรับปรุง
               ภาพลักษณ์ขององค์กรให้ท างานด้านส่งเสริมมากขึ้น (กลยุทธ์ที่ 19) การให้ค าปรึกษาการจัดท าแผน NAP (กล
               ยุทธ์ที่ 1) การส่งเสริมให้ กสม. ท าหน้าที่เป็นคลังข้อมูล (กลยุทธ์ที่ 24) และการพัฒนากลไกการบริหารที่ต้องมี

               การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ฯ ทั้งภายในและภายนอก (กลยุทธ์ที่ 25)

                       2.   ส าหรับมิติด้านการเป็นพื้นฐานส าหรับต่อยอดในการพัฒนากลยุทธ์อื่น พบว่ากลยุทธ์ที่มี
               ความส าคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ การพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ อันได้แก่ ผู้น า
               ชุมชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อ ภาควิชาการและหน่วยงานต่างประเทศ (กลยุทธ์ที่ 18) การ
               พัฒนากลไกการบริหารที่ต้องมีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ฯ ทั้งภายในและภายนอก

               (กลยุทธ์ที่ 25)  การให้ข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
               สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ (กลยุทธ์ที่ 6) การจัดท าฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อน าไปสู่
               การถอดประเด็นร่วม (common issue) ของธุรกิจแต่ละสาขาและจัดท าข้อเสนอแนะให้กับเอกชนเพื่อน าไปสู่
               การปฏิบัติที่ดี (กลยุทธ์ที่ 10) การท าความเข้าใจภายในองค์กรเพื่อให้เข้าใจตรงกันในส่วนของนิยาม ขอบเขต

               อ านาจของ กสม. เพื่อใช้ก าหนดแนวทางในการด าเนินการที่มีประสิทธิภาพ (กลยุทธ์ที่ 20) และการส่งเสริมให้
               กสม. ท าหน้าที่เป็นคลังข้อมูล (กลยุทธ์ที่ 24)

                       3.   เมื่อพิจารณาถึงมิติด้านการให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วโดยสามารถด าเนินการได้ทันที พบว่ากลยุทธ์ที่
               สามารถประสบความส าเร็จได้อย่างรวดเร็วจะประกอบไปด้วย การขยายช่องทางติดต่อกับ กสม. ให้สะดวก
               มากยิ่งขึ้น (กลยุทธ์ที่ 17) การเฝ้าระวังประเด็นปัญหาเฉพาะเรื่องของภาคเอกชนเป็นพิเศษ (กลยุทธ์ที่ 11)

               การท าความเข้าใจภายในองค์กรเพื่อให้เข้าใจตรงกันในส่วนของนิยาม ขอบเขตอ านาจของ กสม. เพื่อใช้
               ก าหนดแนวทางในการด าเนินการที่มีประสิทธิภาพ (กลยุทธ์ที่ 20) การจัดท าคู่มือการปฏิบัติงานด้านสิทธิ
               มนุษยชนและการประกอบธุรกิจให้กับเจ้าหน้าที่ (กลยุทธ์ที่ 22) และการพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการ

               บุคลากรขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (กลยุทธ์ที่ 23)
                       4.   ในส่วนของความเห็นจากการเข้าร่วมประชุม จะให้ความส าคัญกับ 5 กลยุทธ์ต่อไปนี้เป็นอันดับ

               แรก ได้แก่ การสร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดและประชาชนทั่วไป (กลยุทธ์ที่ 14) การ
               ขยายช่องทางให้เข้าถึง กสม. ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (กลยุทธ์ที่ 17) การสนับสนุนกลไกการคุ้มครองสิทธิ
               มนุษยชน (กลยุทธ์ที่ 16) การประมวลข้อสรุปจากเรื่องร้องเรียนออกมาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (กลยุทธ์

               ที่ 2) และการถอดบทเรียนและจัดท ากรณีศึกษาเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อเท็จจริง (กลยุทธ์ที่ 15)

                       5.   ในภาพรวม พบว่ามี 16 กลยุทธ์ที่มีจุดเด่นอย่างน้อยด้านใดด้านหนึ่ง โดยกลยุทธ์ที่ได้รับคะแนน
                                               4
               ประเมินที่สูงที่สุด 10 อันดับแรก มีดังนี้






               4
                   การประเมินจะให้น้ าหนักของผลจากจัดประชุมเท่ากับร้อยละ 50 ในขณะที่มิติเด่นด้านอื่นๆจะให้น้ าหนักที่เท่ากันเท่ากับ
                   ร้อยละ 16.67




                                                           5-72
   309   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319