Page 292 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 292

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562

               เข้าถึงฐานข้อมูลอย่างเหมาะสมแล้ว ผลผลิตของกลยุทธ์ดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น 3 ผลผลิต ได้แก่ ฐานข้อมูลที่
               สามารถสืบค้นได้ ข้อมูลองค์ความรู้ที่รวบรวมทั้งหมด และระบบกลไกการเข้าถึงฐานข้อมูล (เช่น เว็บไซต์
               แอพลิเคชั่น)  ในขณะที่ผลลัพธ์ของการสร้างฐานข้อมูล จะเป็นผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับภาควิชาการ เช่น ภาค
               วิชาการได้อ้างอิงฐานข้อมูลในการท าวิจัยไม่น้อยกว่า 5 ชิ้น เป็นต้น

                       6.  การประเมินความก้าวหน้าโดยพิจารณาผลกระทบ (impact)  หมายถึง การพิจารณาผลที่มาจาก

               การด าเนินกิจกรรมทั้งหมดจนเสร็จสิ้นในระยะยาว ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นกับองค์กร สังคม หรือกลุ่มเป้าหมายของ
               การด าเนินกลยุทธ์ เช่น ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 5-10 ปี เป็นต้น ตัวอย่างเช่น หากก าหนดให้ผู้ประเมิน
               ก าลังประเมินกลยุทธ์การเป็นคลังข้อมูลให้กับภาควิชาการ จะพบว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากที่ภาควิชาการ
               ได้อ้างอิงฐานข้อมูลในการท าวิจัยไม่น้อยกว่า 5 ชิ้น จะน าไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ถูกปรับใช้เพื่อแก้ไข
               ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจที่เหมาะสมกับบริบทของไทยไม่น้อยกว่า 1 นโยบาย เป็นต้น


                        ความเหมาะสมของแต่ละรูปแบบที่จะถูกคัดเลือกมาเป็นตัวแทนในการสร้างดัชนีชี้วัด ขึ้นอยู่กับปัจจัย
               ที่ส าคัญในหลายๆ ด้าน ซึ่งต้องพิจารณาประกอบกัน เช่น

                       -    ความยากง่ายในการด าเนินกลยุทธ์เมื่อเทียบกับระยะเวลาของแผน โดยหากการด าเนินกลยุทธ์
                          สามารถด าเนินการให้แล้วเสร็จก่อนที่จะมีการประเมินในรอบ 1 ปี ก็มักจะต้องประเมินโดยใช้
                          รูปแบบของการพิจารณากระบวนการท างาน หรือ ผลผลิต ในขณะที่โครงการที่มีความซับซ้อน

                          อาจจะต้องพิจารณาตั้งแต่รูปแบบการก าหนดกิจกรรมและปัจจัยน าเข้า

                       -    ความสมบูรณ์พร้อมของข้อมูล โดยทั่วไปแล้วการประเมินจะประสบความส าเร็จหรือไม่  จะขึ้นอยู่
                          กับว่าข้อมูลที่ใช้ในการประเมินมีความพร้อมมากแค่ไหน ตัวอย่างเช่น ข้อมูลต้นทุนการด าเนิน
                          โครงการอาจจะประเมินได้ยาก เนื่องจากบุคลากรไม่ได้มีการท างานในโครงการใดโครงการหนึ่ง
                          เพียงโครงการเดียว จึงท าให้ไม่สามารถเลือกประเมินปัจจัยน าเข้าได้ เป็นต้น

                       -    ความซับซ้อนในการเก็บข้อมูล โดยความซับซ้อนในการเก็บข้อมูลจะหมายถึงความยากง่ายในการ

                          เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการประมวลผล ตัวอย่างเช่น การประเมินผลโดยใช้แบบสอบถามแบบ
                          เปิด จะท าให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความหลากหลายและเข้มข้นในระดับที่ดีมาก แต่การตีความว่า
                          ผลส าเร็จของกลยุทธ์มีมากน้อยเพียงใดอาจจะท าได้ยาก เนื่องจากไม่สามารถที่จะเทียบเคียงจุด

                          แข็งและจุดอ่อนที่เกิดขึ้นจากการด าเนินโครงการในแต่ละด้านได้ ในขณะที่การเก็บข้อมูลที่ไม่
                          ซับซ้อนเช่น จ านวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม หรือ จ านวนคู่มือที่ได้รับการแปล อาจจะไม่ให้ข้อมูลใน
                          เชิงลึกว่าการเข้าร่วมประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมากน้อยเพียงใด หรือคุณภาพของ
                          คู่มือว่าสามารถสื่อความให้คนทั่วไปเข้าถึงได้ดีมากน้อยเพียงใด เป็นต้น



                       ข้อเสนอกลยุทธ์ แนวทางการด าเนินกิจกรรมและตัวชี้วัด

                       งานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะตัวชี้วัดของแต่ละกลยุทธ์โดยอ้างอิงจากกลุ่มกิจกรรมที่คณะผู้วิจัยมี

               ความเห็นว่าควรที่จะด าเนินการเพื่อให้บรรลุตามแผนกลยุทธ์ โดยตัวชี้วัดที่น าเสนอจะมีหลากหลายรูปแบบ
               เพราะแต่ละกลยุทธ์จะมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน

                       ส าหรับการประเมินเชิงคุณภาพ คณะผู้วิจัยได้ก าหนดให้ผู้ประเมินให้คะแนนในระดับ 1-5 โดยคะแนน
               อันดับที่ 3 จะหมายถึงว่ากิจกรรมได้ด าเนินการตามเป้าหมายในระดับที่ยอมรับได้ (ระดับที่ต่ าที่สุดที่ถือว่าผ่าน)




                                                           5-59
   287   288   289   290   291   292   293   294   295   296   297