Page 260 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 260
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ประชาชนเพื่อท าการวางแผน จัดล าดับความส าคัญ และตัดสินใจเชิงนโยบาย นอกจากนี้ ภาครัฐควรที่จะต้องมีการ
ก าหนดตัวชี้วัด เป้าหมาย และกลไกการตรวจสอบ ประเมินและกลไกการสร้างความรับผิดชอบ เพื่อสนับสนุนการ
ท างานให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกเหนือจากการคุ้มครองแล้ว เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้อง
จัดให้มีการเยียวยา (remedy) ที่เหมาะสม รวมทั้งเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียน
และเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าโดยกิจการนั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาคธุรกิจที่
เกี่ยวข้องที่ได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ นอกจากจะเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังเป็น
การชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันจะเกิดจากการประกอบธุรกิจ
ในขณะเดียวกัน บทบาทของภาครัฐอีกประการหนึ่งที่ส าคัญ คือ การก ากับดูแลรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอาจจะมี
การด าเนินธุรกิจที่สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้เช่นเดียวกัน รูปแบบการก ากับดูแลรัฐวิสาหกิจที่เหมาะสม
อ้างอิงจากค าแนะน าของ OECD จะเน้นการให้อ านาจบอร์ดบริหารรัฐวิสาหกิจที่ค่อนข้างอิสระในการตัดสินใจ
ด าเนินธุรกิจ (autonomy) แต่ในขณะเดียวกันภาครัฐก็จะมีกลไกการประเมินและตรวจสอบ (monitoring) เพื่อให้
แน่ใจว่าการด าเนินธุรกิจของรัฐวิสาหกิจนั้นมีความเหมาะสม ท้ายที่สุดภาครัฐจะมีการก าหนดคุณและโทษที่ชัดเจน
เพื่อสร้างกลไกการรับผิดชอบ (accountability) เพื่อสร้างแรงจูงใจให้การด าเนินธุรกิจมีความเคารพต่อสิทธิ
มนุษยชนอย่างแท้จริง
บทบาทที่ส าคัญอีกประการหนึ่งของภาครัฐ คือ กลไกการตรวจสอบและประเมินภายใน (institution) ซึ่ง
หมายถึง ภาครัฐจะมีกลไกการตรวจสอบและประเมินตนเองว่าได้มีการด าเนินการตามบทบาทที่ควรจะเป็นได้มาก
น้อยเพียงใด
2. ภาคธุรกิจ/รัฐวิสาหกิจ
ภาคธุรกิจ (ในที่นี้หมายรวมถึงบรรษัทข้ามชาติ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาด
หลักทรัพย์ และรัฐวิสาหกิจ) มีหน้าที่เคารพสิทธิมนุษยชน หลักการ UNGP ได้กล่าวถึงความรับผิดชอบต่อการ
เคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งได้มีการเรียกร้องให้ธุรกิจหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดหรือสนับสนุนให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อ
สิทธิมนุษยชนผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ของตน และแก้ไขผลกระทบดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้น และพยายามป้องกันหรือลด
ผลกระทบที่เสียหายต่อสิทธิมนุษยชนที่มีความเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการของภาคธุรกิจ ผลิตภัณฑ์
หรือการบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตน แม้ว่าธุรกิจจะไม่ได้มีส่วนสนับสนุนต่อผลกระทบดังกล่าวก็ตาม และเมื่อ
ภาคธุรกิจรู้ว่าตนเองเป็นผู้ก่อหรือมีส่วนก่อให้เกิดผลกระทบเสียหาย ธุรกิจก็ควรจัดให้มีหรือให้ความร่วมมือในการ
เยียวยาผ่านกระบวนการที่ชอบธรรม
นอกจากบทบาทที่ภาคธุรกิจจะต้องค านึงถึงในแง่ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มประชาชนทั่วไป
แล้ว ภาคธุรกิจยังมีบทบาทส าคัญใน 3 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. บทบาทในการตรวจสอบและประเมินภายใน
องค์กร เพื่อสนับสนุนการด าเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชน 2. บทบาทในการผลักดันประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
เข้าไปจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยสนับสนุนผู้ผลิตสินค้าวัตถุดิบ/สินค้าขั้นกลางที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน รวมทั้งให้
ความช่วยเหลือ ค าแนะน าแก่ผู้ผลิตในห่วงโซ่อุปทานให้พิจารณาและเลือกที่จะด าเนินธุรกิจโดยเคารพสิทธิ
มนุษยชนมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนนี้ธุรกิจที่ด าเนินธุรกิจที่มีอ านาจต่อรองอยู่เหนือเครือข่ายเกษตรพันธสัญญาควรที่
5-33