Page 43 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 43

ข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย
                    ๑) ชื่อของร่างพระราชบัญญัติฯ ควรเปลี่ยนเป็นร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะฯ
                    ๒) ควรเลี่ยงการบัญญัติค�านิยามซ้อนค�านิยาม
                    ๓) ค�านิยามค�าว่า “ผู้จัดการชุมนุม” ไม่ควรรวมผู้เชิญชวนหรือผู้นัดหมาย
                    ๔) การก�าหนดให้การชุมนุมสาธารณะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานไม่สอดคล้องกับหลักการตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วย
                       สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    ๕) การให้รัฐมนตรีอาจประกาศเพิ่มเติมพื้นที่ห้ามชุมนุมเป็นการก�าหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกินสมควรและให้ดุลพินิจรัฐมนตรี
                       มากเกินไป
                    ๖) ควรขยายเวลาห้ามชุมนุมจาก ๒๒.๐๐ น.ถึง ๐๖.๐๐ น. เป็น ๒๔.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น.
                    ๗) การให้ผู้ชุมนุมต้องมีหนังสือแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนชุมนุม เท่ากับเป็นการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีอ�านาจอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ชุมนุม
                       จึงไม่สอดคล้องกับหลักการตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                       ซึ่งวัตถุประสงค์ของการแจ้งควรเพื่อเตรียมอ�านวยความสะดวกและรักษาความสงบเรียบร้อยแก่ประชาชน
                    ๘) ร่างมาตรา ๒๑ – ๒๘ มีบทบัญญัติที่จ�ากัดเสรีภาพในการชุมนุมไว้หลายประการ เช่น ให้ถือว่าการชุมนุมที่ไม่แจ้งหรือไม่เลิก
                       ชุมนุม เมื่อมีค�าสั่งห้ามเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ถือว่ากรณีประกาศให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ควบคุมแล้วไม่ออกเป็น
                       ความผิดซึ่งหน้า การยกเว้นความรับผิดทางแพ่ง ทางอาญา ทางวินัยให้แก่เจ้าพนักงาน เป็นต้น
                    ๙) ข้อพิพาทจากการชุมนุมอาจเป็นข้อพิพาททางปกครอง ทางแพ่ง ทางอาญา จึงไม่ควรบัญญัติให้เหตุที่เกิดขึ้นทุกคดีอยู่ภายใต้
                       ศาลใดศาลหนึ่ง
                   ๑๐) บทก�าหนดโทษตามร่างพระราชบัญญัติฯ ควรใช้โทษทางปกครองเนื่องจากมีลักษณะเป็นความผิดทางปกครอง


                                                                   ผลการด�าเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                                                       คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
                                                              การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีหนังสือลงวันที่
                                                              ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ขอให้ส่งผู้แทนของส�านักงานฯ เข้าร่วมประชุมกับ
                                                              คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและรับฟังความคิดเห็นประกอบ
                                                              การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... เพื่อให้
                                                              ได้รับข้อมูล ตลอดจนทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอันจะท�าให้
                                                              การพิจารณาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘
                                                              ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการชุมนุม
                                                              สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจากการพิจารณาพบว่า มีหลายประเด็นที่
                                                              เป็นไปตามข้อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายที่
                                                              คณะกรรมการฯ เสนอ เช่น การก�าหนดพื้นที่ห้ามชุมนุมโดยบัญญัติ
                                                              แยกรัฐสภา ท�าเนียบรัฐบาล และศาล ออกจากสถานที่ประทับ ไม่
                                                              ได้ก�าหนดให้ผู้จัดการชุมนุมต้องอยู่ด้วยตลอดระยะเวลาการชุมนุม
                                                              การแจ้งการชุมนุมสามารถ แจ้งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การขยายเวลา
                                                              การปราศรัยจาก ๒๒.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น. เป็น ๒๔.๐๐ น. ถึง ๐๖.๐๐ น.
                                                              และเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องผ่านการฝึกอบรม เป็นต้น





















                                    รายงานผลการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๕๘  42  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48