Page 19 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 19
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 19
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
ข้อกฎหมายเบื้องต้น (Baseline Study) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
หลังจากนั้น กสม.มาเลเซียก็ได้จัดทำาการไต่สวนระดับชาติ (National Inquiry) ในประเด็น
สิทธิในที่ดินของคนท้องถิ่นดั้งเดิมในมาเลเซีย (Land Rights of Indigenous Peoples in
Malaysia) ซึ่งทำาให้พบและได้รับข้อมูลที่เกี่ยวกับผลกระทบของภาคธุรกิจและการละเมิด
สิทธิมนุษยชนมากขึ้น
จากนั้น กสม. มาเลเซียได้เริ่มศึกษาประเด็น “ผลกระทบของข้อตกลงหุ้นส่วนทางการค้า
เอเชีย-แปซิฟิกต่อสิทธิมนุษยชนในมาเลเซีย” (Impact of Trans-Pacific Partnership
Agreement (TPPA) on Human Rights in Malaysia) รวมทั้งการริเริ่มการจัดประชุม
โต๊ะกลมว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในมาเลเซีย (Roundtable Discussion (RTD) on
the Promotion of Human Rights and Business in Malaysia) ขึ้นในเดือนมิถุนายน
11
2557 ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ เมื่อมีข้อมูลและผล
การศึกษารองรับ ในวันที่ 24 มีนาคม 2558 กสม. มาเลเซีย จึงได้เสนอกรอบยุทธศาสตร์
เพื่อการจัดทำาแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Strategic Framework
for A National Action Plan on Business and Human Rights) ต่อรัฐบาลมาเลเซีย
ซึ่งเป็นร่างแผนปฏิบัติการที่เกิดขึ้นจากการรับฟังความเห็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ
สื่อมวลชนและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาคธุรกิจอย่างครอบคลุม แม้แผนปฏิบัติการ
แห่งชาติของมาเลเซียจะยังจะทำาไม่แล้วเสร็จ แต่การดำาเนินการของ กสม. มาเลเซีย ก็เป็นต้น
แบบที่น่าสนใจศึกษาสำาหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในอนาคต เนื่องจากมีปัจจัย
ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย
3) สาธารณรัฐเกาหลี
แม้สาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้ เป็นกลุ่มประเทศลำาดับต้นในเอเชียที่รัฐบาล
ให้ความสำาคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รัฐบาลเกาหลีใต้ถือว่าประเด็นด้านธุรกิจและ
สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน จึงจัดทำาเฉพาะ
แผนปฏิบัติการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (National Action Plan For the
Promotion and Protection of Human Rights - NAP) โดยรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ได้จัดทำา
แผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแยกโดยเฉพาะ ซึ่งรัฐบาลถือว่าได้
ครอบคลุมประเด็นด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแล้ว และในปัจจุบันแผนนี้บังคับใช้เป็นฉบับที่ 2
อย่างไรก็ตาม ในการจัดทำาแผนทั้งสองฉบับที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้เปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่น
รวมทั้ง กสม. เกาหลีใต้ เข้ามีส่วนร่วมในการจัดทำาแผนมากนัก ดังนั้น เพื่อยกระดับประเด็นด้าน
ธุรกิจและสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ กสม. เกาหลีใต้ จึงจัดทำาแผนปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชน
11
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม http://www.suhakam.org.my/bussiness-and-human-rights/