Page 99 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 99

รูปแบบการอบรมจะท�าในลักษณะกลุ่มเล็ก โดยแต่ละกลุ่มมีนักเรียนประมาณ ๔๐ - ๕๐ หรือ

                 ตามจ�านวนนักเรียนใน ๑ ห้องเรียน ส�าหรับวิทยากรประจ�า ๑ คน ลักษณะการเรียนการสอนจะเป็น

                 แบบ “นักเรียนเป็นศูนย์กล�ง” คือนักเรียนจะได้รับมอบหมายให้ท�ากิจกรรมหรือค้นหาค�าตอบ

                 ภายใต้การด�าเนินการอภิปราย สรุปบทเรียน ให้ค�าตอบของวิทยากร ตามเนื้อหาและจุดประสงค์

                 ของโครงการ



                       นอกจากนี้โครงการอดเปรี้ยวไว้กินหวานมีความคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ๘๐ เปอร์เซ็นต์
                 มีจิตส�านึกให้หันมารักนวลสงวนตัว ให้ความส�าคัญกับการรักษาพรหมจรรย์ไว้จนถึงวันแต่งงาน


                 ตระหนักถึงพิษภัยของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน หลีกหนีสิ่งยั่วยุทางเพศ และตัดสินใจจะรักษา
                 พรหมจรรย์ไว้จนถึงวันแต่งงานและ/หรือเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในสถานศึกษามีการตั้งชมรม


                 Purity Club ในโรงเรียนเพื่อเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมค่านิยมอดเปรี้ยวไว้กินหวาน และในระดับ
                 ประชาชนทั่วไป จัดงาน Purity Day ในช่วงวันวาเลนไทน์ เพื่อกระตุ้นความคิดของวัยรุ่นและสังคม


                 ว่าวันนี้ควรเป็นวันแห่งความรักบริสุทธิ์ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะประเมินผลพฤติกรรมโดยติดตามผล
                 ร่วมกับโรงเรียนที่จัดการอบรมทุก ๑, ๓, ๖ เดือน และ ๑ ปี



                       เห็นได้ชัดว่ายุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้เน้น พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ (ครูไทย,

                 ๒๕๕๔) ทั้งๆ ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องโดยตรง งานวิจัยของกุลวดี เถนว่อง และคณะ (๒๕๕๑)

                 “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และแนวทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน :

                 กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี” ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมุ่งศึกษาประเด็นเพศสัมพันธ์วัยรุ่นมากกว่าการ

                 ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและ พ.ร.บ. ของโรงเรียน และจากการวิจัยพบว่า ในจ�านวน ๘ โรงเรียนของ

                 พื้นที่ มีการตั้งครรภ์ขณะเรียนซึ่งพบ ๒ - ๓ คนต่อปีในโรงเรียน ซึ่งการแก้ปัญหาของโรงเรียนคือ

                 การให้พักการเรียนเยาวชนหญิงและเชิญผู้ปกครองมาคุย หรือให้เยาวชนลาออกจากการศึกษา

                 ตามระเบียบของโรงเรียน (กุลวดี เถนว่อง และคณะ, ๒๕๕๑) ซึ่งมาตรการการแก้ปัญหาเยาวชน

                 หญิงตั้งครรภ์ของโรงเรียน เป็นการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิมนุษยชน ละเมิด พ.ร.บ.การศึกษา

                 แห่งชาติ และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ข้อ ๑๐ “ก�าหนดว่ารัฐ

                 ภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่างเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เพื่อให้หญิงและชาย

                 มีสิทธิในการศึกษาอย่างเสมอภาคกัน” (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐)











                             98    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104