Page 101 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 101
l หน่วยง�นและองค์กรต่�งๆ
• สภ�ก�ช�ด
เหมือนกับวิจัยศึกษาของสุวชัย อินทรประเสริฐ และ สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล เรื่อง “ก�ร
ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” (๒๕๓๙) และการศึกษาของรพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ และคณะ เรื่อง “คว�มสัมพันธ์
ระหว่�งเจตคติต่อก�รตั้งครรภ์และแบบแผนก�รดำ�เนินชีวิตในระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์
วัยรุ่น” (๒๕๕๐) สภากาชาดยังคงมีความเชื่อและมายาคติว่า การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอายุ ๑๓ - ๑๙
ปีในปัจจุบันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ไม่เพียงท�าให้ต้องหยุดหรือออกจากระบบการศึกษา ยังเสี่ยงต่อการ
ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง HIV/AIDS เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนระหว่าง
ตั้งครรภ์และหลังคลอด เช่น ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทารกที่เกิดมาจาก
เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ ที่เกิดมามักเผชิญกับภาวะเติบโตช้า น�้าหนักน้อย ทุพพลภาพ สมองช้า
มีความเจ็บป่วยเรื้อรัง รวมทั้งปัญหาการคลอดก่อนก�าหนด ถูกแม่วัยรุ่นทอดทิ้ง ไม่ได้รับการเลี้ยงดู
ที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ประเทศขาดบุคลากรที่มีคุณภาพซึ่งสภากาชาดถือว่าเป็นปัญหาระดับชาติ
เพราะน�าไปสู่ประชากรที่ด้อยคุณภาพทั้งเด็กทารกและแม่วัยรุ่น (สภากาชาดไทย, ๒๕๕๔)
ดังนั้นสภากาชาดจึงได้ก่อตั้งโครงการส่งเสริมสุขภาพเยาวชนตั้งครรภ์ให้ได้รับความรู้ใน
โภชนาการ การดูแลสุขภาพกายและใจ ทั้งตนเองและทารกระหว่างตั้งครรภ์ และเมื่อทารกคลอดแล้ว
รวมทั้งสนับสนุนให้เยาวชนวัยรุ่นเลี้ยงทารกด้วยน�้านมตนเอง ในระหว่างฝากครรภ์และรับการดูแล
หลังการคลอดที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลง
ทางอารมณ์ระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด (สภากาชาดไทย, ๒๕๕๔)
ถือว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ให้เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการสุขภาพ
ที่ปลอดภัย ความรู้ข้อมูลรอบด้านในการด�ารงครรภ์ เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในอันตรายจากการตั้งครรภ์
แต่ยังคงเป็นการบริการภายใต้กระบวนทัศน์ของแพทย์ที่มีแต่เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ยังคงเป็นในแง่ลบ
ที่มองว่าเป็นกลุ่มผู้หญิงที่ขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้ชีวิต เป็นกลุ่มที่เปราะบางและ
มีความเสี่ยงต่อการสร้างปัญหาสังคมและน�าไปสู่ภาวะประชากรด้อยคุณภาพ (สภากาชาดไทย,
๒๕๕๔)
100 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน