Page 100 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 100
เช่นเดียวกัน มาตรการและการด�าเนินการของกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้มุ่งประเด็นคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิง ในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา
ตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ข้อ ๑๐ “ก�าหนดว่ารัฐภาคีจะใช้
มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่างเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เพื่อให้หญิงและชายมีสิทธิ
ในการศึกษาอย่างเสมอภาคกัน” (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐) และสิทธิในการมีชีวิตอยู่
อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ที่จะไม่ตกอยู่ในอันตรายจากการตั้งครรภ์
การถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลการตั้งครรภ์ เช่น การถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะตั้งครรภ์
เยาวชนไทยยังมีความรู้ที่จ�ากัดในเรื่องเพศศึกษา เพราะการสอนเพศศึกษาในโรงเรียนส่วนใหญ่
จะเน้นเฉพาะเนื้อหาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระและร่างกาย และยังมีการถ่ายทอดเนื้อหา
เพศศึกษาที่ไม่สม�่าเสมอด้วย ครูส่วนมากยอมรับว่า รู้สึกอึดอัดใจที่ต้องสอนเพศศึกษาให้แก่วัยรุ่น
ครูผู้สอนบางคนจึงปรับเปลี่ยนเนื้อหาในหลักสูตรเพศศึกษาไปตามความคิดเห็นของตน หรือ
บางครั้งก็อาจตัดเนื้อหาบางส่วนทิ้งไปเลย ส�าหรับบิดามารดาของวัยรุ่นนั้น มากกว่าร้อยละ ๗๐
เห็นว่าไม่ควรสอนเพศศึกษาในโรงเรียน แต่ก็มีบิดามารดาเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้นที่มีความพร้อมใน
การให้ค�าแนะน�าเรื่องเพศแก่บุตรของตน และประมาณเกือบ ๑ ใน ๓ เชื่อว่าเพศศึกษาจะท�าให้
วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น (วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, ๒๕๕๓, น. ๕ - ๙) นอกจากนี้เนื้อหาการสอน
เพศศึกษาพยายามให้วัยรุ่นชะลอการมีเพศสัมพันธ์หรือมีพฤติกรรมทางเพศลดลง หรือใช้ถุงยางอนามัย
หรือยาคุมก�าเนิดเพิ่มขึ้น และทราบวิธีการป้องกันโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการ
ตั้งครรภ์ ตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์ปรับเปลี่ยนค่านิยมทางเพศ
มีความเชื่อมั่นมากขึ้นที่จะใช้ถุงยางอนามัย หรือปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เต็มใจ และมีความตั้งใจ
ที่จะงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์จ�ากัด จ�านวนคู่นอน หรือใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (วัลยา
ธรรมพนิชวัฒน์, ๒๕๕๓, น. ๕ - ๙) แต่ไม่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิมนุษยชน
ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางเพศ สิทธิ (Rights) ที่ปรากฏในเนื้อหาการเรียนการสอนคือ สิทธิที่จะ
ปฏิิเสธหรือป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร บนพื้นฐานของแนวคิด รักนวลสงวนตัว
(บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์ และคณะ, ๒๕๔๙, น. ๖๕๔ - ๖๕๗)
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 99