Page 104 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 104

ซึ่งพ่อแม่บังคับให้ท�าแท้ง ถูกสื่อมวลชนประณาม เพื่อนและอาจารย์ยอมรับไม่ได้ กดดันให้ลาออก

                  เพื่อรักษาชื่อเสียงโรงเรียน ถูกเพื่อนสนิทและเพื่อนบ้านรังเกียจ ถูกกดดันให้ย้ายออกจากชุมชน

                  (สมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ, ๒๕๕๔)


                        จากข้อมูลของสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ เผยให้เห็นว่าทางสมาคมฯ ยังขาดความ

                  เข้าใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนและความละเอียดอ่อนความซับซ้อนในระดับปัจเจกของเยาวชนใน

                  กลุ่มต่างๆ ตามบริบทสังคม และเห็นได้ชัดว่าสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติน�าการตั้งครรภ์เป็น

                  เครื่องมือในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ว่าท�าให้กลายเป็นที่รังเกียจของสังคม แต่ไม่พยายาม

                  ให้สังคมตระหนักถึงการเคารพสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ สิทธิมนุษยชนของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์

                  มากไปกว่านั้นทางสมาคมเครือข่ายฯ ยังได้ให้ความชอบธรรมต่อการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

                  สิทธิมนุษยชนในการได้รับความเป็นส่วนตัว ความปลอดภัย ศักดิ์ศรีในการด�ารงชีวิต รวมถึงแผนปฏิบัติ

                  เพื่อความก้าวหน้าของสตรี ย่อหน้าที่ ๙๖ ที่ว่าด้วยสิทธิผู้หญิงในการควบคุมและตัดสินใจอย่างเสรี

                  และรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับเพศวิถี สุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ โดยปราศจาก

                  การบีบบังคับ การเลือกปฏิบัติและความรุนแรง



                        จากการวิจัยในประเด็นเพศสัมพันธ์ของเยาวชน กุลวดี เถนว่อง และคณะ เสนอว่า ในสังคมไทย

                  เยาวชนแทบจะไม่ได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษาจากผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัว (กุลวดี เถนว่อง

                  และคณะ, ๒๕๕๑) ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการของสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติที่ไม่

                  สนับสนุนให้ผู้ปกครองเป็นผู้รับผิดชอบในการสอนเพศศึกษาให้แก่บุตรของตน แม้ว่าผลงานวิจัยที่

                  ผ่านมาในต่างประเทศรายงานว่า วัยรุ่นต้องการทราบข้อมูลเรื่องเพศจากบิดามารดาของตน

                  และบิดามารดาผู้ปกครองสามารถมีอิทธิพลอย่างมากต่อทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นได้

                  (วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, ๒๕๕๓, น. ๕ - ๙)



                        สรุปได้ว่า มาตรการและการด�าเนินการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ

                  มนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ได้มุ่งเน้นประเด็นคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

                  สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ และบรรลุหลักการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ

                  มนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศ

                  ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี








                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  103
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109