Page 184 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 184
๒. ก�าหนดนโยบายในการด�าเนินงานโดยให้ความส�าคัญต่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านสังคม
ทุกระดับ โดยเฉพาะบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัวเพื่อปรับทัศนคติเชิงบวกในการ
ด�าเนินงานเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมอย่างรอบด้าน
๓. สนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานและองค์พัฒนาเอกชนที่เป็นเครือข่ายในการผลิตสื่อ
เพื่อสร้างความเข้าใจในวงกว้างเกี่ยวกับปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
อย่างรอบด้าน โดยค�านึงถึงความละเอียดอ่อนในมิติหญิงชาย เพศวิถีวัยรุ่น บนพื้นฐานของ
สิทธิมนุษยชน เช่น จัดท�าแผ่นพับข้อมูลการให้บริการพร้อมเบอร์โทรศัพท์และวันเวลา
ที่ให้บริการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมอย่างรอบด้านของหน่วยงานต่างๆ ที่ให้บริการ
ในแต่ละพื้นที่ เพื่อช่วยให้เกิดการได้รับข้อมูลข่าวสารและเข้าถึงการได้รับบริการ
อย่างรอบด้าน เป็นต้น
๔. ก�าหนดยุทธศาสตร์การท�างานร่วมกับเครือข่ายสหสาขาวิชาชีพ โดยใช้ศูนย์ประชาบดี
เป็นหน่วยประสานงานกลางเชื่อมต่อกับระบบการด�าเนินงานของบ้านพักเด็กและครอบครัว
ของแต่ละพื้นที่ภายในจังหวัดเพื่อก�าหนดเจ้าภาพที่ชัดเจนในการรับผิดชอบงานและ
ลดขั้นตอนการประสานงานที่ล่าช้าภายในองค์กรของพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์จังหวัด เพื่ออ�านวยความสะดวกและรวดเร็วในการประสานงานกับเครือข่าย
สหสาขาวิชาชีพเพื่อส่งต่อและติดตามผล จากนั้นจึงสรุปผลรายงานต่อส�านักงานพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดตามล�าดับต่อไป
๕. รณรงค์สร้างความตระหนักเพื่อเร่งปรับเปลี่ยนทัศนคติ โลกทัศน์ของประชาชนให้มี
ความรู้ ความเข้าใจ เคารพสิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนทั้งตั้งครรภ์
และไม่ตั้งครรภ์ ยอมรับวัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ โดยให้ความรู้
สร้างความตระหนักต่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 183