Page 78 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 78

(ค) ทุกคนจะต้องสามารถได้รับการศึกษาขั้นอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของความสามารถ
                       โดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการน าการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อย

                       ไป


                              (ง) การศึกษาขั้นพื้นฐานจะต้องได้รับการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้มากที่สุดเท่าที่จะท าได้ส าหรับผู้ที่
                       ไม่ได้รับหรือเรียนไม่ครบตามช่วงระยะเวลาทั้งหมดของการศึกษาขั้นประถม


                              (จ) จะต้องด าเนินการพัฒนาระบบโรงเรียนทุกระดับอย่างแข็งขัน   ให้มีระบบทุนการศึกษาที่เพียงพอ
                       และปรับปรุงสภาพของวัสดุประกอบการสอนของครูอย่างต่อเนื่อง


                       ๓. รัฐภาคีทั้งหลายแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพเสรีภาพของบิดามารดาและผู้ปกครองตามกฎหมายในกรณีที่มี  ใน
               การเลือกโรงเรียนส าหรับเด็กของตน นอกจากที่จัดตั้งโดยเจ้าหน้าที่รัฐ   เช่นที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาขั้นต ่าที่รัฐ

               ก าหนดไว้หรือให้ความเห็นชอบเพื่อประกันให้การศึกษาทางศาสนาและศีลธรรมของเด็กเป็นไปโดยสอดคล้องกับความ
               เชื่อถือของตน


                       ๔. ไม่มีส่วนใดของข้อนี้จะแปลไปในทางก้าวก่ายเสรีภาพของปัจเจกชน  และองค์กรในการจัดตั้งและด าเนินการ
               สถาบันการศึกษา ทั้งนี้   ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามหลักการที่ระบุไว้ในวรรค ๑ ของข้อนี้ และข้อก าหนดที่ว่า   การศึกษาใน

               สถาบันเช่นว่าจะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต ่าตามที่รัฐได้ก าหนดไว้


                                                          ข้อ ๑๔


                       รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้ ซึ่งในเวลาเข้าเป็นภาคียังไม่สามารถจัดให้มีการประถมศึกษาภาคบังคับแบบให้เปล่า
               ในเขตเมืองและเขตอื่น ๆ ภายใต้เขตอ านาจของตนรับที่จะหาทางและจัดท าแผนปฏิบัติการโดยละเอียดเพื่อท าให้เกิดความ
               คืบหน้าในการปฏิบัติตามกติกาฉบับนี้ภายในเวลา ๒ ปี และก าหนดไว้ในแผนภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล  ซึ่งหลักการ

               ในการจัดการศึกษาภาคบังคับแบบให้เปล่าส าหรับทุกคน

                                                          ข้อ ๑๕


                       ๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคน


                              ก) ที่จะมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม


                              (ข) ที่จะอุปโภคสิทธิประโยชน์แห่งความก้าวหน้าและการประยุกต์ใช้ทางวิทยาศาสตร์


                               (ค) ที่จะได้สิทธิประโยชน์จากการคุ้มครองผลประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและทางวัตถุในประโยชน์อัน
                       เกิดจากการผลิตทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม หรือศิลปกรรมซึ่งตนเป็นผู้สร้างสรรค์


                       ๒. ขั้นตอนซึ่งรัฐภาคีแห่งกติกานี้จะด าเนินเพื่อท าให้สิทธินี้เป็นจริงอย่างบริบูรณ์  ให้รวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จ าเป็น

               เพื่อการอนุรักษ์ การพัฒนา และการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และทางวัฒนธรรม








               กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม    ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
                                                                                                        ๖
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83