Page 74 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 74
ภาค ๒
ข้อ ๒
๑. รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะด าเนินการ โดยเอกเทศและโดยความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่าง
ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจและวิชาการ โดยใช้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการ
ท าให้สิทธิซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้กลายเป็นความจริงอย่างบริบูรณ์โดยล าดับด้วยวิธีทั้งปวงที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
รวมทั้งการก าหนดมาตรการทางกฎหมายด้วย
๒. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันว่าสิทธิทั้งหลายที่ระบุไว้ในกติกานี้จะใช้ได้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด
ๆ ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด ชาติหรือสังคมดั้งเดิม ทรัพย์สิน
ก าเนิดหรือสถานะอื่น
๓. ประเทศก าลังพัฒนา โดยค านึงถึงตามควรต่อสิทธิมนุษยชนและเศรษฐกิจแห่งชาติตน อาจก าหนดขอบเขตใน
การประกันสิทธิทางเศรษฐกิจของตนตามที่รับรองในกติกานี้แก่ผู้ที่ไม่ใช่คนชาติของตน
ข้อ ๓
รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะประกันสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรีในการที่จะอุปโภคสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรมทั้งปวง ดังที่ได้ระบุไว้ในกติกานี้
ข้อ ๔
รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองว่า ในการอุปโภคสิทธิเหล่านั้นซึ่งรัฐให้ตามกติกานี้ รัฐอาจจ ากัดสิทธิเช่นว่าได้เฉพาะ
โดยข้อจ ากัดเช่นที่ก าหนดโดยกฎหมายเท่าที่อาจสอดคล้องกับลักษณะของสิทธิเหล่านี้ และเพียงเพื่อความมุ่งประสงค์ใน
การส่งเสริมสวัสดิการทั่วไปในสังคมประชาธิปไตย
ข้อ ๕
๑. ไม่มีข้อความใดในกติกานี้ที่อาจตีความไปในทางที่จะให้รัฐใด กลุ่มชนหรือบุคคลใดเข้าไปเกี่ยวข้องกับ
กิจกรรมหรือกระท าการใดอันมีจุดมุ่งหมายในการท าลายสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รับรองไว้ในกติกานี้ หรือเป็นการจ ากัด
สิทธินั้นยิ่งไปกว่าที่ได้บัญญัติไว้ในกติกานี้
๒. ห้ามการจ ากัดหรือลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองหรือที่มีอยู่ในประเทศใด โดยอาศัย
อ านาจของกฎหมาย อนุสัญญา ข้อบังคับ หรือจารีตประเพณี โดยอ้างว่ากติกานี้ไม่รับรองสิทธิเช่นว่านั้น หรือรับรองสิทธิ
นั้นในขอบเขตที่ด้อยกว่า
ภาค ๓
ข้อ ๖
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
๒