Page 77 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 77

๒. รัฐภาคีแห่งกติกานี้ รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนที่จะปลอดจากความหิวโหย โดยจะต้องด าเนินมาตรการ
               โดยเอกเทศและโดยความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งโครงการเฉพาะซึ่งจ าเป็น


                              (ก) ในการปรับปรุงวิธีการผลิต  เก็บรักษาและการแบ่งสรรอาหาร โดยใช้ความรู้อย่างเต็มที่ทางเทคนิค

                       และทางวิทยาศาสตร์   โดยการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการ   และโดยการพัฒนาหรือการปฏิรูประบบ
                       เกษตรกรรมในทางที่จะท าให้สามารถบรรลุผลการพัฒนา   และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
                       สูงสุด


                              (ข)  ในการประกันการแบ่งสรรอย่างเท่าเทียมของอุปทานอาหารโลกตามสัดส่วนความต้องการ   โดย

                       ค านึงถึงทั้งปัญหาของประเทศที่น าเข้าอาหารและประเทศส่งออกอาหาร

                                                          ข้อ ๑๒


                       ๑.  รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้

                               ๒. ขั้นตอนในการด าเนินการโดยรัฐภาคีแห่งกติกานี้ เพื่อบรรลุผลในการท าให้สิทธินี้เป็นจริงอย่างสมบูรณ์จะต้อง
               รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จ าเป็นเพื่อ


                              (ก)  การหาหนทางลดอัตราการตายของทารกก่อนคลอดและของเด็กแรกเกิดและการพัฒนาที่มี
                       ประโยชน์ต่อสุขภาพของเด็ก


                              (ข) การปรับปรุงในทุกด้านของสุขลักษณะทางสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรม


                              (ค) การป้ องกัน รักษาและควบคุมโรคระบาด โรคประจ าถิ่น โรคจากการประกอบอาชีพและโรคอื่น ๆ


                               (ง)  การสร้างสภาวะที่ประกันบริการทางแพทย์   และการให้การดูแลรักษาพยาบาลแก่ทุกคนในกรณี
                       เจ็บป่วย


                                                          ข้อ ๑๓


                       ๑.  รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนในการศึกษา   รัฐภาคีเห็นพ้องกันว่าการศึกษาจะต้องมุ่งให้เกิดการ
               พัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์และความส านึกในศักดิ์ศรีของตนอย่างบริบูรณ์ และจะต้องเพิ่มพูนการเคารพในสิทธิมนุษยชน

               และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน   รัฐภาคีเห็นพ้องกันอีกว่า   การศึกษาจะต้องท าให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในสังคมอย่างมี
               ประสิทธิภาพ จะต้องส่งเสริมความเข้าใจ ความอดกลั้นและมิตรภาพระหว่างชาติ และกลุ่มเชื้อชาติ  ชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่ม
               ศาสนาทั้งปวง และสานต่อไปถึงกิจกรรมของสหประชาชาติในการธ ารงไว้ซึ่งสันติภาพ


                       ๒. รัฐภาคีแห่งกตินี้รับรองว่า เพื่อที่จะท าให้สิทธินี้เป็นจริงโดยบริบูรณ์


                              ก)    การศึกษาขั้นประถมจะต้องเป็นการศึกษาภาคบังคับและจัดให้ทุกคนแบบให้เปล่า

                                        (ข) จะต้องจัดการศึกษาขั้นมัธยมในรูปแบบต่าง ๆ   รวมทั้งการศึกษามัธยมทางเทคนิคศึกษาและ
                       อาชีวศึกษา ให้มีขึ้นโดยทั่วไป  และให้ทุกคนมีสิทธิได้รับโดยวิธีการที่เหมาะสมทุกทาง  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                       โดยการน าการศึกษาแบบให้เปล่ามาใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป




               กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม    ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
                                                                                                        ๕
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82