Page 73 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 73
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
(International Convent on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR)
อารัมภบท
รัฐภาคีแห่งกติกาฉบับนี้
พิจารณาว่า ตามหลักการซึ่งได้ประกาศไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติการรับรองศักดิ์ศรีที่มีมาแต่ก าเนิดและสิทธิเท่า
เทียมกันและไม่อาจเพิกถอนได้ของมวลมนุษยชาตินั้นเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรมและสันติภาพในโลก
รับรองว่า สิทธิเหล่านี้มาจากศักดิ์ศรีแต่ก าเนิดของมนุษย์
รับรองว่า ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อุดมการณ์ที่ว่าเสรีชนจะต้องปลอดจากความกลัวและความขาด
แคลนนั้น จะสามารถสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อมีการสร้างสภาวะซึ่งทุกคนจะได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
รวมทั้งสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของตนเท่านั้น
พิจารณาถึงพันธกรณีแห่งรัฐภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติในการส่งเสริมการเคารพและการยอมรับโดยสากลใน
สิทธิและเสรีภาพมนุษยชน
ตระหนักว่า ปัจเจกบุคคลซึ่งมีหน้าที่ต่อปัจเจกบุคคลอื่น และต่อประชาคมของตนมีความรับผิดชอบที่จะต้อง
พยายามส่งเสริมและยอมรับสิทธิที่รับรองไว้ในกติกานี้
ตกลงกันในข้อต่อไปนี้
ภาค ๑
ข้อ ๑
๑. ประชาชาติทั้งปวงมีสิทธิก าหนดเจตจ านงของตนเอง โดยสิทธินั้น ประชาชาติเหล่านั้นจะก าหนดสถานะ
ทางการเมืองของตนโดยเสรี และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตนอย่างเสรี
๒. เพื่อจุดมุ่งหมายของตน ประชาชาติทั้งปวงอาจจัดการโภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติของตนได้อย่างเสรี
โดยไม่กระทบต่อพันธกรณีใด ๆ อันเกิดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการ
แห่งผลประโยชน์ร่วมกันและกฎหมายระหว่างประเทศ ประชาชาติจะไม่ถูกลิดรอนวิถีทางยังชีพของตนไม่ว่าในกรณีใด
๓. รัฐภาคีแห่งกติกานี้ รวมทั้งรัฐที่รับผิดชอบในการบริหารดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและดินแดนใน
ภาวะทรัสตี จะต้องส่งเสริมให้สิทธิในการก าหนดเจตจ านงของตนเองมีผลจริงจัง และจะต้องเคารพสิทธินั้น ตามบทบัญญัติ
แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
๑