Page 76 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 76
(ค) สิทธิของสหภาพแรงงานที่จะด าเนินงานอย่างเสรีโดยไม่ขึ้นอยู่กับการจ ากัดใด นอกจากที่ได้ก าหนด
โดยกฎหมายและซึ่งจ าเป็นในสังคมประชาธิปไตย เพื่อประโยชน์ของความมั่นคงแห่งชาติหรือความสงบเรียบร้อย
ของส่วนรวมหรือการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
(ง) สิทธิที่จะนัดหยุดงาน หากใช้สิทธิโดยสอดคล้องกับกฎหมายของประเทศนั้น
๒. ความในข้อนี้ไม่ห้ามการก าหนดข้อจ ากัดอันชอบด้วยกฎหมายในการใช้สิทธิเหล่านี้โดยทหารหรือต ารวจ หรือ
ฝ่ายบริหารของรัฐ
๓. ไม่มีข้อความใดในข้อนี้ที่ให้อ านาจรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิใน
การรวมตัวกัน ค.ศ. ๑๙๔๘ ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศให้ใช้มาตรการทางนิติบัญญัติหรือใช้กฎหมายในลักษณะ
ซึ่งจะท าให้เสื่อมเสียต่อหลักประกันที่ให้ไว้ในอนุสัญญานั้น
ข้อ ๙
รัฐภาคีแห่งกติกาฉบับนี้รับรองสิทธิของทุกคนในอันที่จะมีสวัสดิการสังคม รวมทั้งการประกันสังคม
ข้อ ๑๐
รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองว่า
๑. ครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยรวมของสังคมที่เป็นพื้นฐานและเป็นธรรมชาติควรได้รับการคุ้มครอง และช่วยเหลือ
อย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะท าได้ โดยเฉพาะในการจัดตั้งและในขณะที่ต้องรับผิดชอบต่อการดูแลและการศึกษาของเด็กที่
ยังพึ่งตนเองไม่ได้ การสมรสต้องกระท าโดยความยินยอมอย่างเสรีของผู้ที่เจตนาจะสมรส
๒. มารดาควรได้รับการคุ้มครองพิเศษระหว่างช่วงระยะเวลาตามควรก่อนหรือหลังการให้ก าเนิดบุตร ในระหว่าง
ช่วงระยะเวลาเช่นว่า มารดาซึ่งท างานควรได้รับอนุญาตให้ลาโดยได้รับค่าจ้าง หรือลาโดยมีสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการ
สังคมอย่างเพียงพอ
๓. ควรมีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือพิเศษแก่เด็กและผู้เยาว์ทั้งปวง โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติเนื่องจากชาติ
ก าเนิดหรือเงื่อนไขอื่น ๆ เด็กและผู้เยาว์ควรได้รับการคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม การว่าจ้าง
เด็กให้ท างานซึ่งเป็นภัยต่อจิตใจหรือสุขภาพหรือเป็นอันตรายต่อชีวิตหรืออาจจะขัดขวางพัฒนาการตามปกติของเด็กควร
ได้รับการลงโทษตามกฎหมาย รัฐควรก าหนดอายุขั้นต ่าซึ่งห้ามไม่ให้มีการจ้างแรงงานเด็กและก าหนดให้มีโทษตาม
กฎหมายด้วย
ข้อ ๑๑
๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอส าหรับตนเองและครอบครัว ซึ่ง
รวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และสภาพการครองชีพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐภาคีจะด าเนินขั้นตอนที่
เหมาะสมเพื่อประกันการท าให้สิทธินี้เป็นจริง โดยรับรองความส าคัญอย่างแท้จริงของความร่วมมือระหว่างประเทศบน
พื้นฐานของความยินยอมโดยเสรี
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
๔