Page 81 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 81

ข้อ ๒๖


                       ๑.  กติกาฉบับนี้เปิดให้มีการลงนามโดยรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ   หรือสมาชิกทบวงการช านัญพิเศษใดของ
               สหประชาชาติ รัฐภาคีแห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและรัฐอื่นใด  ซึ่งสมัชชาสหประชาชาติได้เชิญให้เข้าเป็น

               ภาคีแห่งกติกาฉบับนี้


                       ๒. กติกานี้ต้องได้รับการสัตยาบัน ให้มอบสัตยาบันสารแก่เลขาธิการสหประชาชาติ

                       ๓. กติกาฉบับนี้จะต้องเปิดให้ภาคยานุวัติโดยรัฐใดซึ่งกล่าวถึงในวรรค ๑ ของข้อนี้


                       ๔. การภาคยานุวัติจะมีผลเมื่อมีการมอบภาคยานุวัติสารแก่เลขาธิการสหประชาชาติ


                       ๕.  เลขาธิการสหประชาชาติจะต้องแจ้งให้รัฐทั้งปวงซึ่งได้ลงนามหรือภาคยานุวัติกติกานี้แล้วทราบถึงการมอบ

               สัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสารแต่ละฉบับ

                                                          ข้อ ๒๗


                       ๑. กติกานี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อครบก าหนดสามเดือนหลังจากวันที่ได้มีการมอบสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติสาร

               ฉบับที่สามสิบห้าแก่เลขาธิการสหประชาชาติ


                       ๒.  ส าหรับแต่ละรัฐที่ให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติกติกานี้ภายหลังจากที่มีการมอบสัตยาบันสารหรือภาคยานุวัติ
               สารฉบับที่สามสิบห้าแล้ว กติกานี้จะมีผลบังคับใช้กับรัฐนั้นเมื่อครบก าหนดสามเดือนหลังจากวันที่รัฐนั้นได้มอบสัตยาบัน
               สารหรือภาคยานุวัติสารของตน


                                                          ข้อ ๒๘


                       บทบัญญัติของกติกานี้จะครอบคลุมทุกส่วนของรัฐที่เป็นสหรัฐ โดยปราศจากข้อจ ากัดหรือข้อยกเว้น


                                                          ข้อ ๒๙


                       ๑. รัฐภาคีใดแห่งกติกานี้อาจเสนอข้อแก้ไขและยื่นต่อเลขาธิการสหประชาชาติ  จากนั้นเลขาธิการสหประชาชาติ
               จะต้องส่งข้อแก้ไขที่เสนอมานั้นแก่รัฐภาคีแห่งกติกานี้พร้อมกับค าร้องขอให้รัฐภาคีแจ้งให้ตนทราบว่ารัฐภาคีเหล่านั้นเห็น
               ควรให้มีการประชุมของรัฐภาคีทั้งหลายเพื่อมุ่งประสงค์ในการพิจารณาและลงคะแนนเสียงข้อเสนอนั้นหรือไม่ ในกรณีที่มี

               รัฐภาคีจ านวนอย่างน้อยที่สุดหนึ่งในสามเห็นด้วยกับการจัดประชุมดังกล่าว   เลขาธิการฯ จะต้องจัดประชุมภายใต้การ
               สนับสนุนของสหประชาชาติ ข้อแก้ไขใดที่ได้รับการรับรองโดยรัฐภาคีส่วนใหญ่ซึ่งเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนเสียงใน

               การประชุม ให้น าเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติเพื่อให้ความเห็นชอบ


                       ๒. ข้อแก้ไขจะมีผลบังคับใช้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติ  และได้รับการยอมรับโดยเสียง
               ส่วนใหญ่สองในสามของรัฐภาคีแห่งกติกานี้ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของรัฐนั้น ๆ









               กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม    ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๕ กันยายน ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
                                                                                                        ๙
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86