Page 62 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 62
ข้อ ๕๑
๑. รัฐภาคีใดแห่งกติกานี้อาจเสนอข้อแก้ไขและยื่นต่อเลขาธิการสหประชาชาติ จากนั้นเลขาธิการสหประชาชาติ
จะต้องส่งข้อแก้ไขที่เสนอมานั้นแก่รัฐภาคีต่าง ๆ แห่งกติกานี้พร้อมกับค าร้องขอให้รัฐภาคีระบุว่า ตนเห็นควรให้มีการ
ประชุมของรัฐภาคีทั้งหลายเพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาและลงคะแนนเสียงต่อข้อเสนอนั้นหรือไม่ ในกรณีที่มีรัฐภาคี
จ านวนอย่างน้อยที่สุดหนึ่งในสามเห็นด้วยกับการจัดประชุมดังกล่าว เลขาธิการฯ จะจัดประชุมภายใต้ความสนับสนุนของ
สหประชาชาติ ข้อแก้ไขใด ๆ ที่ได้รับรองโดยรัฐภาคีส่วนใหญ่ซึ่งเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนเสียงในการประชุม ให้
น าเสนอต่อสมัชชาสหประชาชาติเพื่อให้ความเห็นชอบ
๒. ข้อแก้ไขจะมีผลใช้บังคับเมื่อได้รับความเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติ และได้รับการยอมรับโดยเสียง
ข้างมากจ านวนสองในสามของรัฐภาคีแห่งกติกานี้ ตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญของรัฐนั้น ๆ
๓. เมื่อข้อแก้ไขนี้มีผลใช้บังคับ ข้อแก้ไขนั้นจะมีผลผูกพันรัฐภาคีที่ให้การยอมรับรัฐภาคีอื่นจะยังคงผูกพันตาม
บทบัญญัติของกติกานี้ และตามข้อแก้ไขใด ๆ ก่อนหน้านั้นที่รัฐภาคีดังกล่าวได้ให้การยอมรับแล้ว
ข้อ ๕๒
โดยไม่ค านึงถึงการแจ้งตามข้อ ๔๘ วรรค ๕ เลขาธิการสหประชาชาติจะแจ้งให้รัฐทั้งปวงที่กล่าวถึงในวรรค ๑
ของข้อนั้นทราบในเรื่องต่อไปนี้
(ก) การลงนาม การสัตยาบัน และการภาคยานุวัติตามข้อ ๔๘
(ข) วันที่กติกานี้มีผลใช้บังคับตามข้อ ๔๙ และวันที่ข้อแก้ไขมีผลใช้บังคับตามข้อ ๕๑
ข้อ ๕๓
๑. ต้นฉบับของกติกานี้ซึ่งท าไว้เป็นภาษาจีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน มีความถูกต้องเท่าเทียมกัน จะเก็บ
รักษาไว้ ณ หอเอกสารส าคัญของสหประชาชาติ
๒. เลขาธิการสหประชาชาติจะส่งส าเนากติกานี้ที่ได้รับการรับรองไปให้รัฐทั้งปวงตามที่กล่าวถึงในข้อ ๔๘
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐ ๑๘