Page 175 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 175

ข้อ 13


                       1. เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างสมบูรณ์แล้ว คณะกรรมาธิการจะจัดเตรียมรายงานและเสนอ
               ต่อประธานคณะกรรมการ  ระบุถึงผลการสอบสวนในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวระหว่างคู่กรณี  และระบุ

               รวมข้อแนะน าซึ่งคณะกรรมาธิการเห็นเหมาะสมส าหรับการแก้ไขข้อพิพาทอย่างสินติ


                       2. ประธานคณะกรรมการจะจัดส่งรายงานของคณะกรรมาธิการให้กับรัฐภาคีคู่กรณีและภายในสามเดือน  รัฐภาคี
               คู่กรณีจะต้องแจ้งให้ประธานคณะกรรมการทราบว่ารัฐนั้นยอมรับหรือไม่ยอมรับข้อแนะน าตามที่ระบุรวมอยู่ในรายงาน
               ของคณะกรรมาธิการ


                       3.  ภายหลังจากช่วงเวลาที่จัดให้มีในวรรค  2  ของข้อนี้   ประธานคณะกรรมการจะจัดส่งรายงานของ
               คณะกรรมาธิการและประกาศของรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องไปยังรัฐอื่น ๆ ที่เป็นภาคีอนุสัญญานี้


                                                          ข้อ 14


                       1. รัฐภาคีรัฐหนึ่งรัฐใดอาจประกาศยอมรับอ านาจของคณะกรรมการในการรับพิจารณาข้อร้องเรียนจากบุคคลหรือ

               กลุ่มบุคคลภายในเขตอาณาของรัฐภาคีนั้น ซึ่งอ้างว่าได้ตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิตามที่ระบุในอนุสัญญานี้โดยรัฐภาคี
               นั้น ทั้งนี้ คณะกรรมการจะไม่รับข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับรัฐภาคีที่มิได้ประกาศยอมรับอ านาจของคณะกรรมการ


                       2.  รัฐภาคีซึ่งได้ประกาศตามวรรค  1  ของข้อนี้อาจจัดตั้งหรือมอบหมายหน่วยงานภายใต้กระบวนการกฎหมาย
               แห่งชาติของรัฐนั้นให้มีอ านาจรับพิจารณาข้อร้องเรียนจากบุคคลและกลุ่มบุคคลภายในเขตอาณาของรัฐนั้น   ซึ่งอ้างว่าตก

               เป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิตามที่ระบุในอนุสัญญานี้ และได้ใช้มาตรการจัดการแก้ไขในระดับท้องถิ่นจนหมดสิ้นแล้ว แต่
               ไม่บังเกิดผล


                       3.  รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องจะต้องมอบเอกสารประกาศตามวรรค  1  ของข้อนี้  และเอกสารระบุชื่อของหน่วยงานที่ได้
               จัดตั้งหรือได้รับมอบหมายตามวรรค 2 ของข้อนี้ให้เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งจะจัดส่งส าเนาเอกสารไปแจ้งรัฐภาคีอื่น ๆ
               ทั้งนี้ รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องอาจเพิกถอนการประกาศนี้ได้ทุกเมื่อ   โดยการแจ้งต่อเลขาธิการสหประชาชาติ   แต่การเพิกถอน

               ดังกล่าวจะต้องไม่กระทบต่อการร้องเรียน ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ


                       4. หน่วยงานซึ่งจัดตั้งขึ้นหรือได้รับมอบหมายตามวรรค  2 ของข้อนี้ จะจัดท าทะเบียนข้อร้องเรียน  และจะจัดส่ง
               ส าเนาทะเบียนดังกล่าวเป็นรายปีให้เลขาธิการสหประชาชาติตามช่องทางที่เหมาะสม   โดยเป็นที่เข้าใจกันว่า จะไม่มีการ

               เปิดเผยเนื้อหาต่อสาธารณชน

                       5. ในกรณีที่หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นหรือได้รับมอบหมายตามวรรค  2 ของข้อนี้ไม่สามารถปฏิบัติงานเป็นที่พอใจ  ผู้

               ร้องเรียนมีสิทธิที่จะร้องเรียนเรื่องดังกล่าวไปยังคณะกรรมการภายในเวลา 6 เดือน


                       6. (ก) คณะกรรมการจะแจ้งข้อร้องเรียนที่ได้รับต่อรัฐภาคีที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดข้อบทของอนุสัญญา  โดยจะไม่
               เปิดเผยชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยมิได้รับอนุญาต ทั้งนี้ คณะกรรมการจะไม่รับข้อร้องเรียนที่ไม่มีการลงนาม










                                                                                                        ๙
               อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ  ประเทศไทยก าลังอยู่ในขั้นตอนการภาคยานุวัติต่อสหประชาชาติ (ข้อมูล มกราคม ๒๕๔๖)
   170   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180