Page 171 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 171
(5) สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน ทั้งโดยส่วนตัวและโดยร่วมกับบุคคลอื่น
(6) สิทธิในการรับมรดก
(7) สิทธิในการมีเสรีภาพทางความนึกคิด ความส านึก และศาสนา
(8) สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก
(9) สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและการรวมกลุ่ม
(ฉ) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
(1) สิทธิในการมีงานท า ในการเลือกงานอย่างเสรี ในการมีสภาพในการท างานที่เหมาะสมและน่าพอใจ
ในการได้รับการคุ้มครองจากสภาพการตกงาน ในการได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกันกับงานที่ท าในระดับเดียวกัน ใน
การได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรมและนาพอใจ
(2) สิทธิในการจัดตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
(3) สิทธิในการมีที่อยู่อาศัย
(4) สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุข การดูแลทางการแพทย์ การประกันสังคม และการบริการทาง
สังคม
(5) สิทธิในการได้รับการศึกษาและการฝึกอบรม
(6) สิทธิในการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรมอย่างเท่าเทียมกัน
(ช) สิทธิในการเข้าถึงสถานที่หรือบริการใด ๆ ที่มีไว้ส าหรับสาธารณชน เช่น การเดินทางขนส่ง โรงแรม
ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงละคร และสวนสาธารณะ
ข้อ 6
รัฐภาคีจะรับประกันต่อทุกคนในเขตอาณาที่จะได้รับการคุ้มครองและการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ โดยผ่านศาล
ระดับชาติและองค์กรของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่อการกระท าใด ๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ซึ่งได้ละเมิดต่อสิทธิ
มนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลนั้น อันไม่สอดคล้องกับอนุสัญญานี้ และสิทธิในอันที่จะขอจากศาลนั้น การ
ทดแทนอย่างยุติธรรมและพอเพียงและการชดใช้ความเสียหายอันเป็นผลจากการเลือกปฏิบัตินั้น
ข้อ 7
รัฐภาคีจะจัดให้มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพและอย่างทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาการสอน การศึกษา
วัฒนธรรมและสารสนเทศ โดยมุ่งหมายที่จะต่อสู้กับการมีอคติอันน าไปสู่การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และเพื่อสร้างเสริม
ความเข้าใจ ขันติธรรมและมิตรไมตรีระหว่างชาติต่าง ๆ และระหว่างกลุ่มชนเชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ และเพื่อแพร่ขยาย
๕
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ประเทศไทยก าลังอยู่ในขั้นตอนการภาคยานุวัติต่อสหประชาชาติ (ข้อมูล มกราคม ๒๕๔๖)