Page 178 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 178
2. ไม่อนุญาตให้ตั้งข้อสงวนที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของอนุสัญญา และที่อาจมีผลกีดกั้น
การด าเนินการขององค์กรใด ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญานี้ ทั้งนี้ จะถือว่าข้อสงวนไม่สอดคล้องหรือเป็นอุปสรรคกีดกั้น
หาก 2 ใน 3 ของรัฐภาคีของอนุสัญญานี้คัดค้านข้อสงวนนั้น
3. จะถอนข้อสงวนได้ในทุกโอกาส โดยการแจ้งต่อเลขาธิการสหประชาชาติและการแจ้งดังกล่าวจะมีผลในวันที่
เลขาธิการสหประชาชาติได้รับเอกสารแจ้ง
ข้อ 21
รัฐภาคีอาจเพิกถอนอนุสัญญาโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ การเพิกถอนจะมี
ผลใช้บังคับหนึ่งปีภายหลังจากวันที่เลขาธิการสหประชาชาติได้รับการแจ้งดังกล่าว
ข้อ 22
ข้อพิพาทใด ๆ ระหว่างรัฐภาคีสองรัฐหรือมากกว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการน าอนุสัญญาไปใช้
ซึ่งไม่อาจตกลงกันได้โดยการเจรจาหรือโดยกระบวนการซึ่งได้ระบุไว้ในอนุสัญญานี้ หากได้รับการร้องขอจากรัฐที่เป็น
คู่กรณี จะได้รับการเสนอต่อไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อพิจารณา เว้นเสียแต่ว่าคู่กรณีตกลงที่จะจัดการด้วยวิธีการ
อื่น
ข้อ 23
1. รัฐภาคีใด ๆ อาจขอให้มีการแก้ไขอนุสัญญานี้ได้ทุกเมื่อ โดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังเลขาธิการ
สหประชาชาติ
2. สมัชชาสหประชาชาติจะตัดสินว่าจะด าเนินการใด ๆ หรือไม่ ต่อค าขอดังกล่าว
ข้อ 24
เลขาธิการสหประชาชาติจะแจ้งให้รัฐที่อ้างถึงตามข้อ 17 วรรค 1 ของอนุสัญญานี้ ถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
(ก) การลงนามให้สัตยาบันและการภาคยานุวัติตามข้อ 17 และ 18
(ข) วันที่อนุสัญญานี้มีผลบังคับตามข้อ 19
(ค) การติดต่อและการประกาศที่ได้รับตามข้อ 14 20 และ 23
(ง) การเพิกถอน ตามข้อ 21
ข้อ 25
1. อนุสัญญานี้ซึ่งจัดท าไว้เป็นภาษาจีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน เป็นต้นฉบับแท้จริงเท่าเทียมกัน จะเก็บ
รักษาไว้ ณ ส านักงานบรรณสารของสหประชาชาติ
2. เลขาธิการสหประชาชาติจะส่งส าเนาที่รับรองแล้วของอนุสัญญานี้ไปยังรัฐทั้งปวงที่ได้กล่าวถึงในข้อ 17 วรรค
1 ของอนุสัญญานี้
๑๒
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ประเทศไทยก าลังอยู่ในขั้นตอนการภาคยานุวัติต่อสหประชาชาติ (ข้อมูล มกราคม ๒๕๔๖)