Page 174 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 174
4. ในกรณีใดก็ตามที่มีการน าเสนอต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการอาจขอให้รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องนั้นจัดหาข้อมูลที่
เกี่ยวข้องให้
5. ในขณะที่กรณีใดก็ตามตามข้อนี้อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ รัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง มีสิทธิอันชอบธรรมที่
จะจัดส่งผู้แทนเข้าร่วมในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการโดยไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียงในขณะที่คณะกรรมการ
พิจารณาเรื่องดังกล่าว
ข้อ 12
1. (ก) หลังจากที่คณะกรรมการได้รับและได้รวบรวมข้อมูลที่เห็นว่าจ าเป็นทั้งหมดแล้ว ประธานคณะกรรมการจะ
แต่งตั้งคณะกรรมาธิการเฉพาะกิจเพื่อไกล่เกลี่ย ( ต่อไปนี้เรียกว่า คณะกรรมาธิการ ) ประกอบด้วยบุคคลห้าคน ซึ่งอาจเป็น
สมาชิกคณะกรรมการหรือไม่ก็ได้ สมาชิกคณะกรรมการจะได้รับการแต่งตั้งโดยฉันทามติจากคู่กรณี และคณะกรรมาธิการ
จะประสานงานระหว่างรัฐภาคีคู่กรณีโดยมุ่งหวังที่จะน ามาซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างสันติ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ
เคารพในอนุสัญญานี้
(ข) หากรัฐภาคีคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ภายในสามเดือนในเรื่องการแต่งตั้งบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิก
คณะกรรมาธิการทั้งหมดหรือบางส่วน สมาชิกคณะกรรมาธิการที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐภาคีคู่กรณีจะได้รับการ
เลือกตั้งโดยการลงคะแนนลับของคณะกรรมการด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกคณะกรรมการ
2. สมาชิกคณะกรรมาธิการจะปฏิบัติหน้าที่ในฐานะส่วนตัว และจะต้องไม่เป็นคนชาติของรัฐภาคี คู่กรณีหรือรัฐที่
มิได้เป็นภาคีอนุสัญญานี้
3. คณะกรรมาธิการจะเป็นผู้เลือกประธานและก าหนดระเบียบ ข้อบังคับของตน
4. โดยปกติการประชุมคณะกรรมาธิการจะจัดขึ้น ณ ส านักงานใหญ่สหประชาชาติ หรือในสถานที่อื่นตามแต่
คณะกรรมาธิการจะเห็นว่าสะดวก
5. ส านักเลขานุการซึ่งจัดให้มีขึ้นตามข้อ 10 วรรค 3 ของอนุสัญญานี้ จะท างานให้คณะกรรมาธิการที่จัดตั้งขึ้น
กรณีมีข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคี
6. รัฐภาคีคู่กรณีจะร่วมกันรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายของสมาชิกคณะกรรมาธิการอย่างเท่าเทียมกัน ตามประมาณ
การค่าใช้จ่ายโดยเลขาธิการสหประชาชาติ
7. เลขาธิการจะได้รับอ านาจให้จ่ายค่าใช้จ่ายของสมาชิกคณะกรรมาธิการ ( หากจ าเป็น ) ก่อนที่จะได้รับการใช้คืน
จากรัฐภาคีคู่กรณี ตามวรรค 6 ของข้อนี้
8. คณะกรรมาธิการจะได้รับข้อมูลที่คณะกรรมการได้รับและรวบรวม และคณะกรรมาธิการอาจขอให้รัฐที่
เกี่ยวข้องจัดส่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้
๘
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ประเทศไทยก าลังอยู่ในขั้นตอนการภาคยานุวัติต่อสหประชาชาติ (ข้อมูล มกราคม ๒๕๔๖)