Page 37 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 37
2.1.2 ความเป็นอิสระ (Independence)
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีประสิทธิภาพจะต้องสามารถปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระจากรัฐ พรรคการเมือง และองค์กร
อื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระนั้น สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจต้องมีองค์ประกอบดังนี้
ก ความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานตามกฎหมาย
การยกร่างกฎหมายจะต้องก�าหนดให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สามารถท�างานได้เป็นอิสระภายใต้ข้อก�าหนดของกฎหมายนั้น โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ในการเป็นอิสระจากรัฐบาล ซึ่งจะท�าได้โดยให้สถาบันสิทธิมนุษย
ชนแห่งชาติรายงานโดยตรงต่อรัฐสภา
ข ความเป็นอิสระในการบริหารงบประมาณ
การเชื่อมโยงระหว่างความเป็นอิสระในการบริหารงบประมาณและการปฏิบัติงานเป็นจุดแข็งส�าหรับสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากจะต้องเป็นองค์กรที่ไม่มีการควบคุมด้านการเงินผ่านกระทรวงและหน่วยงานของ
รัฐบาลอื่น ๆ
หากเป็นไปได้ ที่มาและลักษณะของการจัดสรรงบประมาณส�าหรับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีการ
ก�าหนดไว้ในกฎหมายจัดตั้งของสถาบันฯ การร่างบทบัญญัติดังกล่าวควรด�าเนินการในแง่มุมที่จะท�าให้มั่นใจว่า
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะมีงบประมาณเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่พื้นฐานของตน ยกตัวอย่างเช่น สถาบัน
อาจจะได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องการร่างงบประมาณประจ�าปีของตน ซึ่งจะเสนอไปยังรัฐสภาโดยตรง
เพื่อขออนุมัติ แต่จะต้องมีการรายงานผลงานตามเงื่อนไขที่ก�าหนดไว้อย่างเข้มงวด ทั้งนี้ งบประมาณของสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติจะต้องไม่เชื่อมโยงกับงบประมาณของกระทรวงหรือภาคส่วนอื่นของรัฐ
นอกจากนั้น งบประมาณของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ควรมีความมั่นคงเพียงพอที่จะไม่มีการตัดสินใจหรือการกระท�า
อย่างเป็นทางการใด ๆ ที่จะส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณของ
สถาบันฯ ทั้งนี้ ความเป็นอิสระในการบริหารงบประมาณจะเป็น
สิ่งที่ส�าคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหากสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มีกระบวนการในการพิจารณาเรื่องร้องเรียน หรือความสามารถ
ในการให้ค�าปรึกษาแก่รัฐบาล เนื่องจากการด�าเนินการใด ๆ อาจ
ส่งผลต่อความเชื่อมต่อทางการเงินระหว่างสถาบัน ฯ กับกระทรวง
หรือหน่วยงานเฉพาะของรัฐซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการขัดกันของ
ผลประโยชน์ (conflicts of interest) ได้
36
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ